ห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นไม่ยากอย่างที่คิด

อ่าน 161,085 ครั้ง

こちら、そちら、あちら、どちら เป็นคำสรรพนามซึ่งใช้แทนได้ทั้งคน/สิ่งของ/สถานที่/ทิศทาง มีรูปแบบการใช้งาน คือ

こちら
そちら
あちら
+は +คำนาม +です
คำนาม +は +こちら
そちら
あちら
どちら
+ですか
こちら
そちら
あちら
どちら
+が +คำนาม +ですか

  1. こちら は おすし です。
    Kochira wa osushi desu
    ของทางนี้คือข้าวหน้าปลาดิบครับ/ค่ะ
  2. そちら は おさしみ です。
    Sochira wa osashimi desu
    ของทางนั้นคือปลาดิบครับ/ค่ะ
  3. あちら は 何 です か。
    Achira wa nan desu ka
    ของทางโน้นคืออะไรครับ/ค่ะ
  4. あちら は おにぎり です。
    Achira wa onigiri desu
    ของทางโน้นคือข้าวปั้นห่อสาหร่ายครับ/ค่ะ

  1. どちら 山田先生 です か。
    Dochira ga Yamadasensei desu ka
    คนทางไหนคืออาจารย์ยามาดะครับ/ค่ะ
  2. あちら 山田先生 です。
    Achira wa Yamada sensei desu
    คนทางโน้นคืออาจารย์ยามาดะครับ/ค่ะ
  3. 田中さん は どちら です か。
    Tanakasan wa dochira desu ka
    คุณทานากะคือคนทางไหนครับ/ค่ะ
  4. 田中さん は こちら です。
    Tanakasan wa kochira desu
    คุณทานากะคือคนทางนี้ครับ/ค่ะ

  1. すみません、公園 は どちら です か。
    Sumimasen, kouen wa dochira desu ka
    ขอโทษ สวนสาธารณะอยู่ทางไหนครับ/ค่ะ
  2. 公園 は あちら です。
    Kouen wa achira desu
    สวนสาธารณะอยู่ทางโน้นครับ/ค่ะ
  3. そちら は 何 です か。
    Sochira wa nan desu ka
    สิ่งทางนั้นคืออะไรครับ/ค่ะ
  4. そちら は 病院 です。
    Sochira wa byouin desu
    สิ่งทางนั้นคือโรงพยาบาลครับ/ค่ะ

คำอธิบาย

อ่านตรงนี้หน่อย

พบ 41 ความเห็นในบทเรียนนี้

ความเห็นที่ 21
ถามหน่อยนะคะ^^
お ที่อยู่หน้าคำนาม เช่นおすし
มีไว้ทำอะไรค่ะ ตอนแรกหาในดิกไม่มี หาแต่สองคำหลังถึงเจอ
เลยอยากรู้คะว่า お ทำหน้าที่อะไร ไม่ใส่ได้ไหมคะ
ขอบคุณนะคะ ตอนนี้อยู่ต่างประเทศ ไม่เคยเรียนภาษาญี่ปุ่นเลย
เรียนเองจากเว็ปนี้แหละคะ เข้าใจดีมากเลยคะ เว็ปอื่นอ่านไม่ค่อยรู้เรื่องเลยคะ (สำหรับคนไม่มีพื้นเลย)
ขอบคุณสำหรับเนื้อหาความรู้ดีๆนะคะ เป็นกำลังใจให้คะ 顽张ってください。
papaphang 16 มีค 56 23:06

ความเห็นที่ 22
お ที่เติมข้างหน้าคำนาม เป็นการทำให้เป็นคำสุภาพ (คือพูดอย่างมีมารยาท) ตามบทที่ 91 หรือใช้เป็นคำยกย่อง ตามบทที่ 92

กรณีที่ไม่จำเป็นต้องพูดให้สุภาพหรือยกย่อง จะไม่เติม お ก็ได้
เว้นแต่บางคำ ถ้าไม่ใส่ お จะทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไปเลย เช่น おやつ (ของว่าง) หรือ おかず (กับข้าว) จึงไม่ใส่ไม่ได้

....................................................

ตอนที่เขียนเว็บ ตั้งใจว่าจะพยายามเขียนให้เข้าใจง่ายสำหรับคนที่ไม่เคยเรียนมาก่อน
ซึ่งถ้าอ่านแล้วเข้าใจง่าย ก็ยินดีที่ตรงตามที่ได้ตั้งใจไว้ครับ

ขอบคุณสำหรับคำชมและกำลังใจนะครับ
webmaster 17 มีค 56 21:07

ความเห็นที่ 23
อาจารย์คะ

ในตาราง ด้านบน ต้องเป็น
「คำนาม」+ は +「どちら」+ ですか รึเปล่าคะ
เพราะหนูเห็น อย่างถ้าเป็น どれ หรือ どこ ถ้าใช้กับ は มันจะตามหลัง เป็น 「คำนาม」+ は +「どれ หรือ どこ」+ ですか
แต่ถ้า อยู่ข้างหน้า ประโยค จะตามด้วย が เป็น 「どれ หรือ どこ」+ が +「คำนาม」+ ですか

ถูกรึเปล่าคะ
หนูพึ่งหัดเรียน ซื้อหนังสือมาอ่านคู่กับเวปของอาจารย์ ทำให้เข้าใจเยอะขึ้นมากเลยค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ [sad]
newji 6 มค 57 05:09

ความเห็นที่ 24
「คำนาม」+ は +「どちら/どれ/どこ」+ ですか
「どちら/どれ/どこ」+ が +「คำนาม」+ ですか
ถูกต้องครับ

การเรียนจากหนังสือหรือเว็บหลายแห่ง ผมว่าดีนะครับ
เหมือนกับการฟังจากหลายๆคน เป็นวิธีทบทวนที่น่าเบื่อ ได้เห็นตัวอย่างและคำอธิบายที่หลากหลาย ซึ่งน่าจะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นครับ
webmaster 7 มค 57 09:48

ความเห็นที่ 25
หนูเข้าใจแล้วค่ะ
สาเหตุความงงของหนู คือว่า หนูไปยึดติดกับรูปไวยกรณ์ ว่า
1) คำสรรพนาม + は + คำนาม + です/ ですか เสมอ
ไม่สามารถเปลี่ยนหรือสลับที่ได้ แต่จริงๆสามารถสลับที่ได้

ขอลองสรุปตามความเข้าใจนะคะ ว่าถูกต้องหรือไม่
ถ้าจากที่ตัวอย่างที่อาจารย์ให้มา ดังนี้

a.「こちら/そちら/あちら」+ は/が + 「คำนาม」+ です/ですか
และ
b. 「คำนาม」+ は/が +「こちら/そちら/あちら」+ ですか

สามารถใช้ได้ทั้้ง 2 แบบความหมายเหมือนกัน แต่น่าจะอยู่ที่จุดประสงค์ของผู้พูดว่า กำลังสนใจที่สิ่งไหน อย่างถ้าลองเอาตัวอย่างที่ 1 มาเป็นแบบ

แบบ a. จะเป็น
こちら は おすし です。
Kochira wa osushi desu
ของทางนี้คือข้าวหน้าปลาดิบครับ/ค่ะ

ถ้าแบบ b. จะเป็น
おすし は こちら です。
osushi wa kochira desu
ข้าวหน้าปลาดิบอยู่ทางนี้ครับ/ค่ะ

2) กรณีปุจฉาสรรพนามก็เหมือนกัน สามารถสลับที่ได้
c. 「คำนาม」+ は/が +「どちら」+ ですか
และ
d. 「どちら」+ が +「คำนาม」+ ですか
**แต่แบบ d. ต้องใช้ が เป็นคำเชื่อมเท่านั้นเพราะประธานไม่รู้ว่าพูดถึงอะไร
อย่างเช่นตัวอย่างที่ 5 และ 8 ที่อาจารย์เขียนไว้

เพราะตอนแรกไปเข้าใจว่ามันสลับที่ไม่ได้ (ส่วนใหญ่ในตำราพื้นฐานทั่วไป อย่างเล่มที่หนูซื้อมาอ่าน เค้ายกตัวอย่างรูปไวยกรณ์แค่แบบเดียว N は N です และมักจะยกรูปเดียวกันทุกเล่ม เลยไปเข้าใจว่าสลับที่ไม่ได้)
[groggy]
newji 13 มค 57 02:53

ความเห็นที่ 26
พิมพ์ผิดค่ะ ต้องเป็นตัวอย่างที่ 5 และ 7
newji 13 มค 57 02:55

ความเห็นที่ 27
คุณ newji เข้าใจถูกต้องแล้วครับ
ตัวอย่างที่สอบถาม เป็นกรณีที่สามารถสลับตำแหน่งสิ่งที่จะยกขึ้นมาเป็นประธานได้

ซึ่งก็เหมือนกับภาษาไทย เช่น
คุณ A คือคนไหน / คนไหนคือคุณ A

ซึ่งแม้ว่าตามไวยากรณ์ความหมายจะแตกต่างกัน
แต่ในภาษาพูด ทั้งคนพูดและคนฟังจะไม่ค่อยสนใจความแตกต่างนี้เท่าใดนักครับ
webmaster 15 มค 57 18:46

ความเห็นที่ 28
อยากเริ่มพูดภาษาญี่ปุ่นค่ะเพราะใกล้อาเซียนแล้ว[smile]
แพร 4 พค 57 18:02

ความเห็นที่ 29
ภาษาญี่ปุ่นอาจจะยากสักหน่อย แต่ถ้ามีจุดมุ่งหมาย และแรงบันดาลใจ ก็น่าจะทำได้ครับ
webmaster 21 พค 57 19:19

ความเห็นที่ 30
โห เคลียร์สุดๆเลยค่ะ
เราเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตัวเอง ผ่านหนังสือ มินนะ โนะ นิฮงโกะเอา
แรกๆก็พอรู้เรื่องค่ะ แต่หลังๆ ตั้งแต่ท้ายเล่มหนึ่งเป็นต้นมา
รู้สึกว่า คำช่วยเยอะมาก และมั่วมาก เริ่มจับไม่ได้ว่าอะไรใช้กับอะไรกันแน่
โดยเฉพาะ wa กับ ga
พออ่านเว็บนีแล้ว รู็เรื่องขึ้นเยอะเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ
arigatou gozaimasu ^_^
อิ๋ว 20 กค 57 04:44

1<>5

pageviews 8,175,460