เลือกตัวอักษร |
|
|
|
|
การใช้คำว่า よ
อ่าน 43473 ครั้ง
|
|
|
คำช่วยจบ : 終助詞
- แสดงการยืนยัน เน้นย้ำ หรือสอบถาม เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามรับทราบ
หากใช้ต่อท้ายคำกริยาที่อยู่ในรูปจบประโยค (shuushikei) ผู้หญิงมักจะใช้ว่า「のよ」หรือ「わよ」หรือ「ことよ」เป็นต้น
- 早く起きないと遅刻するのよ
hayaku okinai to chikoku suru no yo
ถ้าไม่รีบตื่น จะไปสายนะ (ผู้หญิง)
- 私は一人でできるわよ
watashi wa hitori de dekiru wa yo
ฉันทำคนเดียวได้นะ(ยะ) (ผู้หญิง)
- 足が痛くて、もう歩けないよ
ashi ga itakute, mou arukenai yo
เท้าเจ็บ เดินต่อไม่ได้แล้วล่ะ
-
แสดงการเน้นย้ำความต้องการ การร้องขอ หรือการสั่งห้าม
โดยการใช้ต่อท้ายคำกริยาที่อยู่ในรูปคำสั่ง หรือต่อท้ายคำช่วย「な」ซึ่งเป็นการสั่งห้าม
- 早く来いよ
hayaku koi yo
มาเร็วๆซิ
- 全部食べろよ
zenbu tabero yo
ทานให้หมดซิ
- 毎回毎回わがままを言うなよ
maikai maikai wa ga mama o iu na yo
อย่าพูดเอาแต่ใจตนเองทุกๆครั้งได้ไม๊
-
แสดงอาการตำหนิหรือซักไซ้ไล่เลียง โดยการใช้ต่อท้ายคำปุจฉา
- お皿を割ったのは誰よ
o sara o watta no wa dare yo
คนที่ทำจานแตกคือใครหรือ (ผู้หญิง)
- その態度は何だよ
sono taido wa nan da yo
แสดงท่าอย่างนั้น มีอะไรเหรอ (หาเรื่องเหรอ) (ผู้ชาย)
- どうしたのよ、暗い顔をして
doushita no yo, kurai kao o shite
เป็นอะไรเหรอ ทำหน้าเศร้าเชียว
-
แสดงการเน้นย้ำเพื่อชักชวนหรือวิงวอน หรือแสดงอาการไม่สนใจไยดี โดยการใช้ต่อท้ายคำกริยานุเคราะห์ที่แสดงการคาดคะเน คือ「う」หรือ「よう」
- 来週海へ行こうよ
raishuu umi e ikou yo
อาทิตย์หน้า ไปทะเลกันเถอะนะ
- 今日はステーキを食べようよ
kyou wa suteeki o tabeyou yo
วันนี้ ทานสเต๊กกันเถอะนะ
- どうせ勉強しても無理だろうよ
douse benkyou shite mo muri darou yo
ถึงจะฝืนเรียนไป ก็คงไม่สำเร็จหรอก
คำช่วยอุทาน : 間投助詞
ใช้ต่อท้ายวลีในประโยค
- เพื่อแสดงการเรียกหา โดยแฝงไว้ด้วยความสนิทหรือชื่นชม
- 山本よ、ご飯を食べに行こう
yamamoto yo, gohan o tabe ni ikou
ยามาโมโตะ ไปทานข้าวกันเถอะ
- 田中君よ、ちょっとここに来てくれる
tanaka kun yo, chotto koko ni kite kureru
ทานากะ มาที่นี่หน่อยได้ไหม
- ใช้หยุดเว้นวรรคหายใจระหว่างการพูด เพื่อเรียกความสนใจ
- もしもだよ,君だったらどうする
moshi mo da yo, kimi dattara dou suru
สมมุตินะ ถ้าเป็นเธอจะทำยังไง
- เป็นภาษาเก่า เพื่อแสดงความประทับใจหรือชื่นชม มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า「なあ」หรือ「だなあ」
คำช่วยลักษณะ : 格助詞
เป็นภาษาเก่า ใช้ต่อท้ายคำนาม หรือคำผัน (活用語) ที่อยู่ในรูป rentaikei
- เพื่อแสดงจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวหรือการกระทำ มีความหมายเดียวกับคำว่า「から」
- แสดงสถานที่ที่มีการเดินทางหรือการผ่าน มีความหมายเดียวกับคำว่า「を通って」
- แสดงมาตรฐานที่ใช้ในการเปรียบเทียบ มีความหมายเดียวกับคำว่า「より」
-
แสดงขั้นตอนหรือวิธีการ มีความหมายเดียวกับคำว่า「によって」หรือ「で」
คำอุทาน : 感動詞
-
เป็นคำเปล่งเสียงเพื่อเรียกฝ่ายตรงข้าม หรือเพื่อเรียกความสนใจ
- よ、おはよう
yo, ohayou
เฮ้ สวัสดี
- よ、元気かい
yo, genki kai
เฮ้ย สบายดีไม๊
- เป็นภาษาเก่า โดยเป็นคำขานรับ เมื่อผู้ที่สูงกว่าเรียกหา
คำวิเศษณ์ : 副詞
เป็นภาษาเก่า ใช้ร่วมกับสำนวนปฏิเสธ เพื่อแสดงถึงความเป็นไปไม่ได้
|
กรณีเป็น comment ที่สอบถาม Webmaster เมื่อตั้งคำถามเสร็จแล้ว ช่วยแจ้งไว้ที่ไทม์ไลน์ facebook j-campus ให้ด้วย เพื่อที่ Webmaster จะได้ตามเข้ามาตอบคำถามให้ครับ |
|
|
|
|
|