คำช่วยภาษาญี่ปุ่น ความหมายและตัวอย่างประโยค


อ่าน 39,747 ครั้ง

คำช่วยวิเศษณ์ : 副助詞

ใช้ต่อท้ายคำประเภทต่างๆ

1. ใช้กับคำปุจฉาสรรพนาม หรือใช้ร่วมกับคำในรูป 「…とか」 เพื่อแสดงความไม่มั่นใจ

2. แสดงการสันนิษฐานด้วยความรู้สึกสงสัย

3. ใช้ยืนยันว่าไม่มีความมั่นใจ โดยมักใช้ในรูป 「かもしれない」「かもわからない」หรือ「かも」ในลักษณะเดียวกับเดียวกับคำช่วยจบ (終助詞)

คำช่วยจบ : 終助詞

ใช้ต่อท้ายคำต่างๆในการจบประโยค

1. แสดงความสงสัยหรือคำถาม

2. แสดงความเห็นขัดแย้ง โดยมักใช้ร่วมกับคำที่ผันในรูป 「う」 หรือ 「よう」

3. แสดงการต่อว่าหรือตอบโต้

4. แสดงความหมายหว่านล้อมหรือไหว้วาน โดยมักใช้ร่วมกับคำที่ผันในรูป 「う」 「よう」 หรือ 「ない」

5. แสดงความรู้สึกที่ต้องการออกคำสั่ง โดยมักใช้ในรูป 「ないか」 หรือ 「たらどうか」

6. ใช้ในการถามย้ำความรู้สึก

7. แสดงความรู้สึกที่ได้ย้ำไว้แล้ว โดยมักใช้ในรูป 「ではないか」

8. แสดงความต้องการ โดยมักใช้ในรูป 「ないかな」

9. แสดงความรู้สึกตกใจหรือประทับใจ

10. แสดงความหมายในการพูดกับตนเองเพื่อเตือนสติ โดยยกคำพูดหรือเหตุการณ์จริงขึ้นมาแสดง

คำช่วยคู่ขนาน : 並立助詞

ใช้ต่อท้ายคำหลัก (体言) หรือคำแสดง (用言) หรือคำอื่นๆ เพื่อให้เลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเพื่อแสดงเรื่องที่คลุมเครือไม่ชัดเจน

1. แสดงความหมายให้เลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากสิ่งที่ยกตัวอย่างขึ้นมา โดยมักใช้ในรูป 「…か…か」 หรือ 「…か…」

2. แสดงความรู้สึกสงสัย โดยมักใช้ในรูป 「…かどうか」 หรือ 「…か否か」

3. แสดงสภาพที่มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นพร้อมกัน หรือเกิดขึ้นตามหลังเหตุการณ์อีกอย่างหนึ่ง โดยมักใช้ในรูป 「…か…ないかのうちに」

4. แสดงถึงคำ 2 ชนิด โดยคำที่อยู่ข้างหลังมักจะเป็นคำปุจฉาสรรพนาม เพื่อแทนสิ่งที่คล้ายคลึง หรือจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับคำแรกที่กล่าวถึง โดยมักใช้ในรูป 「…か何か」 「…かどこか」 หรือ 「…か誰か」

คำช่วยเกี่ยวเนื่อง : 係助詞

ใช้ในภาษาญี่ปุ่นโบราณ โดยมีรูปแบบประโยคคือ

...............、 ............... 。

เพื่อแสดงความรู้สึก

  1. สงสัยหรือสอบถาม
  2. คัดค้าน
  3. มีอารมณ์สับสน

คำวิเศษณ์ : 副詞

ใช้ในภาษาญี่ปุ่นโบราณ มักใช้คู่กับคำว่า 「かく」 มีความหมายว่า แบบนั้น หรือลักษณะนั้น

คำต้น : 接頭語

ส่วนใหญ่จะใช้นำหน้าคำคุณศัพท์ เพื่อเน้นความหมายให้หนักแน่น หรือเพื่อปรับโทนเสียง

คำท้าย : 接尾語

ใช้ต่อท้ายคำหรือส่วนของคำ ที่แสดงสภาพหรือคุณสมบัติ เพื่อให้สื่อความหมายตามสภาพหรือคุณสมบัตินั้นๆ โดยมักจะใช้ในลักษณะของคำวิเศษณ์ (副詞) หรือคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 (形容動詞) คือ ตามท้ายด้วย に、な หรือ なり เป็นต้น

pageviews 2,047,698