ฝึกการฟังภาษาญี่ปุ่น |
|
|
|
|
เรียนไวยากรณ์จากเพลง
ไวยากรณ์ในบทนี้ จะอธิบายถึงความแตกต่างของคำว่า 大きい (ookii) กับคำว่า 大きな (ooki na) และสำนวนการใช้คำว่า ~ましょう (mashou)
- 大きい และ 大きな
- 大きい (ookii) เป็นคำคุณศัพท์ประเภทที่ 1 (形容詞) มีความหมายว่า ใหญ่ จำนวนมาก ปริมาณมาก เกินกว่าระดับปกติ ฯลฯ
คำคุณศัพท์ในกลุ่มที่ 1 เมื่อนำไปขยายคำนามจะอยู่ในรูป -i form ถ้านำไปขยายคำกริยาจะผันเป็นรูป -ku form และหากใช้จบประโยคคุณศัพท์ จะอยู่ในรูป -i form เช่น
- 大きい木 (ookii ki) ต้นไม้ที่ใหญ่
- 大きく育てる (ookiku sodateru) สร้างให้ใหญ่
- 木が大きい (ki ga ookii) ต้นไม้ใหญ่
- 大きな (ookina) เป็นคำคุณศัพท์ประเภทที่ 2 (形容動詞) มีความหมายเหมือนกับ 大きい คือ ใหญ่ จำนวนมาก ปริมาณมาก ระดับเกินกว่าปกติ ฯลฯ แต่จะแตกต่างกับคำคุณศัพท์อื่นๆ คือ จะใช้ขยายได้เฉพาะคำนามเท่านั้น ไม่สามารถใช้ขยายคำกริยา หรือใช้จบประโยคได้ เช่น
- 大きな木 (ookina ki) ต้นไม้ที่ใหญ่
- 大きな声 (ookina koe) เสียงที่ดัง
- 大きい และ 大きな มีความหมายแตกต่างกันอยู่บ้าง โดย 大きい จะเป็นการบ่งบอกขนาดหรือปริมาณตามข้อเท็จจริง ส่วน 大きな สามารถใช้บ่งบอกขนาดหรือปริมาณในเชิงนามธรรมควบคู่กันไปด้วย เช่น
- 大きい木 (ookii ki) ต้นไม้ที่ใหญ่ ใครเห็นก็ว่าใหญ่
- 大きな木 (ookina ki) ต้นไม้ที่ใหญ่ ในมุมมองของผู้พูด หรือในเชิงนามธรรม
- 大きな夢 (ookina yume) ความฝันอันยิ่งใหญ่
- 大きな希望 (ookina kibou) ความหวังอันยิ่งใหญ่
- 大きな勘違い (ookina kanchigai) ความเข้าใจผิดที่ยิ่งใหญ่
- นอกจากคำว่า 大きい และ 大きな แล้ว คำว่า 小さい (chiisai) และ 小さな (chiisana) ซึ่งมีความหมายว่า เล็ก จำนวนน้อย ปริมาณน้อย ระดับต่ำกว่าปกติ ก็มีลักษณะการใช้งานเช่นเดียวกันกับคำว่า 大きい และ 大きな นี้ด้วย
- ~ましょう
ましょう (mashou) เป็นคำสมาส (連語) เกิดจากการผสมคำว่า「ます」ซึ่งเป็นคำกริยานุเคราะห์ (助動詞) ที่ทำหน้าที่ผันคำกริยาให้สุภาพ กับคำว่า「う」ซึ่งเป็นคำกริยานุเคราะห์ที่หน้าที่สื่อความหมายการคาดเดา
สำนวน ~ましょう ในบทนี้ เป็นการใช้ร่วมกับคำกริยาที่ผันในรูป -masu form เพื่อสื่อความหมายการชักชวนอย่างสุภาพ เช่น
-
dic form | -masu form | ~ましょう |
เล่น | 遊ぶ aso-bu | 遊び aso-bi | 遊びましょう aso-bi-mashou | เล่นกันเถอะ |
ทำ | する suru | し shi | しましょう shi-mashou | ทำกันเถอะ |
เลี้ยงให้โต ทำให้โต | 育てる sodate-ru | 育て sodate | 育てましょう sodate-mashou | เลี้ยงให้โต กันเถอะ |
|