คันจิประจำวัน |
 |
Onyomi : | キ |
Kunyomi : | よ-る, よ-せる | ความหมาย : | พึ่งพิง, ฝากกาย, ฝาก, ส่ง, แวะ, เข้าใกล้, ประชิด, รวมกลุ่ม, รวมเข้าด้วยกัน, บวก, เพิ่ม, คำนึงถึง | ตัวอย่าง : | 寄与 【きよ】 寄付 【きふ】 寄り道 【よりみち】
| JLPT : | N2 |
ระดับ : | ป. 5 |
จำนวนเส้น : | 11 |
|
|
ความคืบหน้า |
คันจิ ป.1-ป.6 (1,006 ตัว) |
100% |
|
|
คำอธิบาย |
ในตารางวิธีอ่านคันจิ จะเห็นว่าการอ่านแบบ kunyomi บางคำจะมีเครื่องหมาย - คั่นอยู่
เหตุผลคือ คันจิ 1 ตัว อาจจะอ่านแบบ kunyomi ได้หลายวิธี เช่น คำว่า 明 สามารถอ่านว่า akari, akarui, akeru หรือ akiraka ก็ได้ ดังนั้น เพื่อไม่ให้อ่านผิดและแปลความหมายผิด จึงมีการเขียนตัวอักษรฮิรางานะส่งท้ายคำว่า 明 เป็น 明かり (aka-ri), 明るい (aka-rui), 明ける (a-keru), 明らか (aki-raka) ซึ่งคำส่งท้ายเหล่านี้ เรียกว่า 送り仮名 (okurigana)
ในพจนานุกรมจะใช้ * หรือ - เป็นสัญญลักษณ์คั่นระหว่างคันจิกับ okurigana ดังนั้น เมื่อเห็นเครื่องหมายเหล่านี้ ขอให้เข้าใจว่านั่นคือการแบ่งคั่นเพื่อให้อ่านถูกเท่านั้น แต่เมื่อเขียนในประโยคจริงๆ ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย * หรือ - นี้
|
|
|
|
|
คันจิ |
คันจิ (漢字 : kanji) ในภาษาญี่ปุ่นมีต้นกำเนิดจากอักษรจีน โดยญี่ปุ่นได้รับมาเป็นส่วนใหญ่ พร้อมกับมีการดัดแปลงเล็กน้อยเพื่อให้มีความสะดวกในการเขียนและการอ่าน มีทั้งสิ้นประมาณ 50,000 ตัว แต่ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาโบราณที่ปัจจุบันไม่มีการใช้งานแล้ว
ในเดือนพฤศจิกายน คศ. 2010 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศแก้ไขจำนวนคันจิที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (常用漢字 : jouyou kanji) จากที่เคยกำหนดไว้เดิม 1,945 ตัว เป็น 2,136 ตัว โดยในจำนวนนี้เป็นคันจิที่กำหนดให้ศึกษาในระดับประถมศึกษาจำนวน 1,006 ตัว แบ่งเป็น ป.1 (80 ตัว) ป.2 (160 ตัว) ป.3 (200 ตัว) ป.4 (200 ตัว) ป.5 (185 ตัว) และ ป.6 (181 ตัว) ตามลำดับ
วิธีอ่านคันจิ
คันจิเป็นอักษรที่มีทั้งความหมายและเสียงในตัวเอง
โดย คันจิ 1 ตัวจะมีวิธีอ่าน 2 แบบ คือ
- On-yomi (音読み)
เป็นการอ่านแบบจีน
เช่น 山 อ่านว่า san แปลว่า ภูเขา
- Kun-yomi (訓読み)
เป็นการอ่านแบบพ้องเสียงกับคำศัพท์ญี่ปุ่นที่มีอยู่เดิม
เช่น 山 จะอ่านว่า yama ซึ่งแปลว่า ภูเขา เช่นเดียวกัน
วิธีเขียนคันจิ
คันจิสมัยโบราณ เป็นอักษรภาพ
ซึ่งต่อมา ค่อยๆ เปลี่ยนรูปมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นอักษรเส้นในปัจจุบัน
คันจิในภาพทางด้านขวา คือ 馬 อ่านว่า uma แปลว่า "ม้า"
ซึ่งสามารถเห็นถึงการค่อยๆ เปลี่ยนรูปจากอักษรโบราณเมื่อหลายพันปีก่อน จนกลายมาเป็นคันจิที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
วิธีการเขียนคันจิ มีหลักเกณฑ์ทั่วไป คือ
- เส้นในแนวนอน : ลากจากซ้ายไปขวา
- เส้นในแนวตั้ง : ลากจากบนลงล่าง
ในการเรียนคันจิ นอกจากจะต้องจดจำความหมาย และวิธีอ่านแบบ On-yomi และ Kun-yomi แล้ว
ยังจะต้องจดจำ ลำดับในการลากเส้น และจำนวนเส้น ให้ถูกต้องด้วย
การนับจำนวนเส้นได้อย่างถูกต้อง จะทำให้สามารถค้นหาคันจิตัวใหม่ๆ ที่ไม่ทราบวิธีอ่าน และไม่ทราบความหมายได้ โดยใช้จำนวนเส้นเป็น keyword ในการค้นหา
คันจิระดับประถมศึกษา
เว็บไซต์นี้ได้รวมคันจิระดับประถมศึกษาทั้ง 1,006 ตัว พร้อมทั้งความหมาย การอ่าน Onyomi, Kunyomi, จำนวนเส้น และวิธีการเขียนคันจิแต่ละตัว
เพื่อให้ผู้ที่สนใจเรียนรู้คันจิ สามารถเริ่มศึกษาจดจำได้ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงปีที่ 6 โดยการใช้เครื่องมือค้นหาที่เตรียมไว้ให้ในเว็บไซต์นี้
|
| |