ไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น เรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตนเอง

อ่าน 269,943 ครั้ง

คำกริยานุเคราะห์ (助動詞 : jodoushi)>

เป็นคำพ่วง (fuzokugo) สามารถผันได้ ใช้ต่อท้ายได้ทั้งคำหลัก (taigen) และคำแสดง (yougen) มีทั้งสิ้น 18 รูปแบบ คือ

れるられるせる
させるないぬ หรือ ん
ようまい
たいたがるます
た หรือ だそうだらしい
ようだです

ประเภทของคำกริยานุเคราะห์

1. แบ่งตามความหมาย

เป็นการแบ่งตามหน้าที่หรือความหมายของคำกริยานุเคราะห์นั้นๆ ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 23 ความหมาย คือ

2. แบ่งตามรูปแบบการผัน

3. แบ่งตามการเชื่อม

แบ่งตามลักษณะของคำศัพท์ที่ไปพ่วง ว่าคำศัพท์นั้นผันอยู่ในรูปแบบใด คือ mizenkei, renyoukei, shuushikei หรือ rentaikei

การผันคำกริยานุเคราะห์

หน้าที่และความหมายของคำกริยานุเคราะห์

1. れる・られる

ใช้ต่อท้ายคำกริยาที่ผันอยู่ในรูป mizenkei เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการถูกกระทำ การยกย่อง การเป็นไปได้ หรือการเกิดขึ้นเอง

2. せる・させる

ใช้ต่อท้ายคำกริยาที่ผันอยู่ในรูป mizenkei เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการสั่งให้ทำ

3. ない ・ ぬ หรือ ん

ใช้ต่อท้ายคำกริยาหรือคำกริยานุเคราะห์ที่ผันอยู่ในรูป mizenkei เพื่อให้เกิดความหมายเชิงหักล้าง

4. う・よう

ใช้ต่อท้ายคำแสดง (yougen) และคำกริยานุเคราะห์บางคำ ที่ผันอยู่ในรูป mizenkei เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการคาดคะเน การมุ่งมั่น และการชักชวน

5. まい

ใช้ต่อท้ายคำแสดง (yougen) และคำกริยานุเคราะห์บางคำ ที่ผันอยู่ในรูป mizenkei เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการคาดคะเนเชิงหักล้าง หรือตั้งใจเชิงหักล้าง

6. たい・たがる

ใช้ต่อท้ายคำกริยาหรือคำกริยานุเคราะห์ที่ผันอยู่ในรูป renyoukei เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการต้องการ

7. ます

ใช้ต่อท้ายคำกริยาและคำกริยานุเคราะห์ที่ผันอยู่ในรูป renyoukei เพื่อให้เกิดความสุภาพ

8. た(だ)

ใช้ต่อท้ายคำแสดง และคำกริยานุเคราะห์ส่วนใหญ่ ที่ผันอยู่ในรูป renyoukei หรือ nai form เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับอดีต การเสร็จสมบูรณ์ การต่อเนื่อง หรือการตรวจทาน

9. そうだ

ใช้ต่อท้ายคำกริยาที่ผันอยู่ในรูป renyoukei หรือต่อท้ายต้นศัพท์ของคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 และ 2 เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการบอกเล่าสภาพ และใช้ต่อท้ายคำแสดง (yougen) ที่ผันอยู่ในรูป shuushikei เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการเล่าต่อ

10. らしい

ใช้ต่อท้ายคำหลัก คำกริยา คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 และคำกริยานุเคราะห์ ที่ผันในรูป shuushikei หรือใช้ต่อท้ายต้นศัพท์ (gokan) ของคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 หรือใช้ต่อท้ายคำช่วย เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการสันนิษฐาน

11. ようだ

ใช้ต่อท้ายคำช่วยคำหลัก (kakujoshi) คือ の หรือใช้ต่อท้ายคำแสดง (yougen) หรือคำกริยานุเคราะห์บางส่วน ที่ผันอยู่ในรูป rentaikei เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ การยกตัวอย่าง หรือการสันนิษฐาน

12. だ

ใช้ต่อท้ายคำหลัก (taigen) หรือคำช่วยบางคำ เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการแสดงความมั่นใจ

だ มีลักษณะการใช้งานในหลายรูปแบบ ดังนี้

これは私の本
Kore wa watashi no hon da
นี่คือหนังสือของฉัน
⇒ เป็นคำกริยานุเคราะห์แสดงความมั่นใจ

この本はきれい
Kono hon wa kirei da
หนังสือเล่มนี้สวย
⇒ เป็นการผันคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 ในรูปจบประโยค (shuushikei)

この本は読ん
Kono hon wa yonda
หนังสือเล่มนี้อ่านแล้ว
⇒ เป็นคำกริยานุเคราะห์แสดงอดีต・การจบสมบูรณ์・การต่อเนื่อง・การตรวจทาน

13. です

ใช้ต่อท้ายคำหลัก (taigen) หรือคำช่วยบางคำ เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการแสดงความมั่นใจอย่างสุภาพ

pageviews 2,619,108