ไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น |
|
|
ภาคผนวก |
|
|
|
|
บทที่ 8 คำอุทาน |
อ่าน
266,149 ครั้ง
|
คำอุทาน (感動詞 : kandoushi) |
เป็นคำอิสระ ผันไม่ได้ เป็นคำเกี่ยวกับคำอุทาน คำเรียกขาน และคำขานรับ เป็นต้น
คำอุทาน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
- คำแสดงอารมณ์ (感動 : kandou)
เป็นคำสำหรับแสดงอารมณ์ของผู้พูด เช่น
- あ (a) แสดงอาการนึกขึ้นได้
- ああ (aa) แสดงความรู้สึกสะเทือนใจหรือแปลกใจอย่างลึกซึ้ง
- あら (ara) แสดงความแปลกใจ หรือประทับใจ ส่วนใหญ่เป็นคำพูดของผู้หญิง
- あれ (are) แสดงอาการประหลาดใจ ประทับใจ หรือประหลาดใจ
- えっ (et) แสดงอาการประหลาดใจ หรือสงสัย
- おっ (ot) แสดงอาการประหลาดใจ หรือนึกขึ้นได้ในฉับพลัน
- おお (oo) แสดงอาการประทับใจ ประหลาดใจสงสัย หรือนึกขึ้นได้ในฉับพลัน
- ほら (hora)แสดงอาการกระตุ้นเตือน หรือเรียกความสนใจ
- まあ (maa) แสดงความตกใจหรือแปลกใจ
- やあ (yaa) แสดงอาการตกใจ หรือไม่ได้คาดคิดไว้ก่อน
- やれやれ (yareyare) แสดงอาการอ่อนใจภายหลังปฏิบัติเรื่องที่ลำบากได้สำเร็จ หรืออ่อนใจจากการประสบเรื่องที่ลำบาก หรือแสดงความเห็นใจความทุกข์ร้อนของผู้อื่น
- คำเรียกหา (呼び掛け : yobigoe)
เป็นคำสำหรับเรียกหาฝ่ายตรงข้าม เช่น
- おい (oi) เป็นคำเรียกขานเพื่อเรียกความสนใจระหว่างเพื่อน หรือบุคคลที่อาวุโสน้อยกว่า ปกติเป็นคำสำหรับผู้ชาย
- こら (kora) เป็นคำเรียกขานในอาการรุนแรง ด้วยความโกรธหรือสั่งเตือน
- これ (kore) เป็นคำเรียกขานผู้ที่อาวุโสน้อยกว่า
- さあ (saa) เป็นคำเรียกขานเพื่อชักชวน
- そら (sora) เป็นคำเรียกขานเพื่อกระตุ้นเตือน
- それ (sore) เป็นคำเรียกขานเพื่อกระตุ้นเตือน
- ちょっと (chotto) เป็นคำเรียกขานโดยไม่ได้ให้เกียรติ
- ね (ne) หรือ ねえ(nee) เป็นคำเรียกขานแสดงความสนิทสนม หรือเพื่อเป็นการย้ำ
- もし (moshi) เป็นคำเรียกขานฝ่ายตรงข้าม
- もしもし (moshimoshi) เป็นคำเรียกขานฝ่ายตรงข้าม หรือเป็นคำพูดในการตอบรับโทรศัพท์
- やあ (yaa) เป็นคำเรียกขานบุคคลที่เจอโดยไม่ได้ตั้งใจ
- やい (yai) เป็นคำเรียกขานเพื่อเรียกร้องความสนใจจากฝ่ายตรงข้าม
- คำขานรับ (応答 : outou)
เป็นคำสำหรับการตอบขานรับให้แก่ฝ่ายตรงข้าม
- ああ (aa) เป็นคำตอบรับแสดงความเห็นด้วย
- いいえ (iie) เป็นคำแสดงการปฏิเสธอย่างสุภาพ
- いや (iya) เป็นคำแสดงการปฏิเสธ
- うん (un) เป็นคำตอบรับแสดงความเห็นด้วย
- ええ (ee) เป็นคำตอบรับแสดงความเห็นด้วย
- さあ (saa) เป็นคำกล่าวตอบในเชิงปฏิเสธที่จะให้คำตอบ หรือแสดงความไม่แน่ใจ
- はい (hai) เป็นคำตอบรับอย่างสุภาพเพื่อแสดงความเห็นด้วย
- คำทักทาย (挨拶 : aisatsu)
เป็นคำสำหรับทักทายฝ่ายตรงข้าม
- おはよう (ohayou) เป็นคำทักทายตอนเช้า
- こんにちは (konnichiwa) เป็นคำทักทายตอนกลางวัน
- こんばんは (konbanwa) เป็นคำทักทายตอนเย็นหรือค่ำ
- さようなら (sayounara) เป็นคำอำลา
- คำให้เสียง (掛け声 : kakegoe)
เป็นคำสำหรับเรียกแก่คู่สนทนาหรือฝ่ายตรงข้าม เพื่อสร้างจังหวะ แรงกระตุ้น หรืออื่นๆ
- えい (ei) เป็นคำแสดงการรวบรวมกำลังหรือความกล้า ในการตัดสินใจที่จะกระทำการใด
- そら (sora) เป็นคำเรียกสมาธิหรือความระมัดระวัง
- どっこい (dokkoi) เป็นคำแสดงการรวบรวมกำลังก่อนจะกระทำการใด
- どっこいしょ (dokkoisho) เป็นคำแสดงการรวบรวมกำลัง เพื่อเคลื่อนไหวร่างกายที่อ่อนล้า
- よいしょ (yoisho) เป็นคำแสดงการรวบรวมพลังในการยกของหนัก หรือก่อนที่จะกระทำการใด
|
|
|