ไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น เรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตนเอง

อ่าน 271,324 ครั้ง



คำกริยา (動詞 : doushi )

เป็นคำอิสระที่สามารถผันได้ สามารถใช้เป็นคำแสดง (述語 : jutsugo) ในประโยค เพื่อบอกเล่าการกระทำ อาการ หรือการมีอยู่

คำกริยาในสถานะปกติ จะลงท้ายด้วยเสียง 「ウ : u」 เสมอ เช่น

: warau : หัวเราะ
: kaku : เขียน
: neru : นอน

ชนิดและหน้าที่ของคำกริยา

1. อกรรมกริยา ( 自動詞 : jidoushi )

เป็นคำแสดงกริยาหรือการเคลื่อนไหวที่เกิดผลอยู่ประธานเท่านั้น ไม่ได้ส่งผลบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่น ดังนั้น ในประโยคจึงจะไม่มีคำช่วย 「を」 ที่เป็นคำช่วยที่ชี้กรรมของประโยค ตัวอย่างเช่น

雨が降る : ame ga furu : ฝนตก
花が咲く : hana ga saku : ดอกไม้บาน

2. สกรรมกริยา ( 他動詞 : tadoushi )

เป็นคำแสดงกริยาที่ไม่ได้ส่งผลไปยังประธาน แต่ผลของกริยาหรือการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น จะเกิดกับบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่นโดยตรง หรือเป็นการทำหรือสร้างให้เกิดขึ้น ตามปกติจะใช้คำช่วย 「を」เพื่อชี้ว่าผลของกริยานั้นเกิดขึ้นกับบุคคลหรือสิ่งของใด เช่น

本を読む : hon o yomu : อ่านหนังสือ
窓を開ける : mado o akeru : เปิดหน้าต่าง

3. กริยาแสดงความเป็นไปได้ ( 可能動詞 : kanou doushi)

เป็นคำกริยาที่ผันรูปเพื่อแสดงความหมายว่าสามารถทำ ... ได้ โดยคำกริยาที่จะผันเช่นนี้ได้ จะต้องเป็นคำกริยาในกลุ่มที่ 1 เท่านั้น ซึ่งเมื่อผันเสร็จแล้ว คำกริยาที่เกิดขึ้นใหม่จะจัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 เช่น

読む : yomu : อ่าน → 読める : yomeru : อ่านได้
行く : iku : ไป → 行ける : ikeru : ไปได้

หมายเหตุ : คำกริยากลุ่มที่ 1 และ 2 เป็นการจัดกลุ่มตามวิธีการผันคำ ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ตอนท้ายของบทนี้

4. กริยาสนับสนุน ( 補助動詞 : hojo doushi หรือ 形式動詞 : keishiki doushi )

มีความหมายของคำเดิมเหลืออยู่น้อยมาก ใช้เป็นเพียงคำเสริมในประโยคเท่านั้น ใช้ร่วมกับคำว่า ~て หรือ ~で เช่น

私は日本人である : watashi wa nihonjin de aru : ฉันเป็นคนญี่ปุ่น
ある เป็นคำกริยาแปลว่า มี ซึ่งไม่เหลือความหมายเดิมอยู่ในประโยค

風が吹いている : kaze ga fuite iru : ลมกำลังพัด
いる เป็นคำกริยาแปลว่า อยู่ ซึ่งไม่เหลือความหมายเดิมอยู่ในประโยค

นอกจากนี้ คำกริยาบางคำจะใช้แสดงความหมายเพื่อยืนยัน หรือแสดงท่าที หรือแสดงความมุ่งมั่นในทำกริยานั้น เช่น

ある、いく、いる、おく、くる、みる、もらう

ยกตัวอย่างเช่น

勉強をしておく : benkyou o shite oku : จะเรียนไว้
勉強してみる : benkyou shite miru : จะลองเรียนดู

การผันคำกริยา

คำกริยาสามารถผันรูป และใช้กับคำกริยานุเคราะห์ (jodoushi) เพื่อให้เกิดความหมายใหม่ได้

【คำกริยา】 【ผันรูป】 + 【คำกริยานุเคราะห์】 【เกิดความหมายใหม่】

คำกริยาสามารถผันได้ 6 รูปแบบ ดังนี้

1. ฟอร์มที่ยังไม่เสร็จ ( 未然形 : mizenkei )

เป็นการผันเพื่อให้เกิดความในเชิงปฏิเสธ ให้กระทำ หรือชักชวน เป็นต้น โดยใช้ร่วมกับคำกริยานุเคราะห์ (jodoushi) คือ

ない、せる、させる、れる、られる、う、よう

2. ฟอร์มที่ตามด้วยคำแสดง (連用形 : renyoukei)

เป็นการผันคำกริยาเพื่อใช้นำหน้าคำแสดง (yougen) เพื่อใช้ในการจบท้ายประโยค โดยจะใช้ร่วมกับคำกริยานุเคราะห์ (jodoushi) คือ

ます、た、だ

3. ฟอร์มจบ (終止形 : shuushikei)

เป็นต้นศัพท์ก่อนการผัน จึงไม่ต้องใช้ร่วมกับคำกริยานุเคราะห์ จะใช้ในการจบท้ายประโยค และใช้เป็นรูปแบบในพจนานุกรม

4. ฟอร์มที่ตามด้วยคำหลัก (連体形 : rentaikei)

เป็นการผันคำกริยาเพื่อใช้นำหน้าคำหลัก (taigen) เช่น

とき

หรือในภาษาเก่าจะผันเพื่อใช้จบประโยค โดยใช้ร่วมกับคำช่วยเกี่ยวเนื่อง (kakarijoshi) คือ

ぞ、なむ、や、か

หรือใช้ร่วมกับคำช่วย คือ

か、ぞ

6. ฟอร์มสมมุติ (仮定形 : kateikei)

เป็นการผันคำกริยาให้มีความหมายสมมุติที่เป็นเหตุเป็นผลกับประโยคต่อท้าย โดยจะใช้ร่วมกับคำกริยานุเคราะห์ (jodoushi) คือ

7. ฟอร์มคำสั่ง (命令形 : meireikei)

เป็นการผันคำกริยาให้มีความหมายเป็นการสั่ง

การผันแบบ 5 ขั้น 1 ขั้น (五段・一段 : godan ichidan)

ในการผันคำกริยาให้อยู่ในฟอร์ม 6 แบบข้างต้น สามารถจำแนกคำกริยาออกเป็น 5 กลุ่ม ตามวิธีการผัน ดังนี้

1. ผัน 5 ขั้น ( 五段活用 : godan katsuyou )

คือกลุ่มคำกริยาที่สามารถผันได้ 5 เสียง
เช่น คำว่า 行く (iku : ไป) สามารถผันได้ครบทั้ง 5 เสียง คือ เสียง a, i, u, e, o

2. ผัน 1 ขั้น ตัวบน ( 上一段活用 : kami ichidan katsuyou )

คือกลุ่มคำกริยาที่สามารถผันได้เพียง 1 เสียง ซึ่งเป็นเสียง i เช่น 見る (mi-ru)

3. ผัน 1 ขั้น ตัวล่าง ( 下一段活用 : shimo ichidan katsuyou )

คือกลุ่มคำกริยาที่สามารถผันได้เพียง 1 เสียง ซึ่งเป็นเสียง e เช่น 食べる (ta-be-ru)

4. ผันคำพิเศษแถว ka ( カ変活用 : ka hen katsuyou )

ซึ่งมีเพียง 1 คำที่ผันในวิธีพิเศษ คือ 来る (kuru : มา)

5. ผันคำพิเศษแถว sa ( サ変活用 : sa hen katsuyou )

ซึ่งมีเพียง 1 คำที่ผันในวิธีพิเศษ คือ する (suru : ทำ)

ประเภทและตัวอย่างวิธีการผันคำกริยา

การผันแบบ -u verb , -iru / -eru verb

เนื่องจากวิธีการผันคำกริยา 6 รูปแบบ (Mizenkei, Renyoukei ....) และการจัดกลุ่มคำแบบ 5 ขั้น 1 ขั้น (Godan ichidan) ตามหลักไวยากรณ์ญี่ปุ่นที่อธิบายข้างต้น มีความสลับซับซ้อน และยากลำบากในการจดจำ

ดังนั้น ในการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับชาวต่างชาติ ซึ่งใช้อักษรโรมาจิเป็นหลัก (คือเขียนด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ) จึงมักใช้วิธีดังนี้

1. การจัดกลุ่ม

แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
  1. คำกริยากลุ่มที่ 1
    คือคำที่ลงท้ายด้วยเสียง u แต่ไม่รวมถึงคำที่ลงท้ายด้วยเสียง iru และ eru จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2
  2. คำกริยากลุ่มที่ 2
    คือคำกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียง iru หรือ eru (เว้นแต่คำบางคำที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1)
  3. คำกริยากลุ่มที่ 3
    คือคำที่มีวิธีการผันเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งมีเพียง 2 คำ คือ 来る (kuru) และ する (suru)

2. วิธีการผัน

แบ่งกลุ่มการผัน ตามเสียงและหรือความหมาย เป็น 7 รูปแบบ คือ
  1. dic form หรือฟอร์มในรูปพจนานุกรม เช่น
    書く (kaku : เขียน)
  2. nai form เช่น
    書かない (kakanai : ไม่เขียน)
  3. masu form เช่น
    書きます (kakimasu : เขียน (สุภาพ))
    書きません (kakimasen : ไม่เขียน (สุภาพ))
    書きましょう (kakimashou : เขียนกันเถอะ (สุภาพ))
    書きたい (kakitai : อยากเขียน)
  4. ta form หรือ te form เช่น
    書いた (kaita : เขียนแล้ว (อดีต))
    書いたら (kaitara : ถ้าเขียน)
  5. ba form เช่น
    書けば (kakeba : ถ้าเขียน)
    書けたら (kaketara : ถ้าได้เขียน)
  6. form คำสั่ง เช่น
    書け (kake : เขียน (คำสั่ง))
  7. you form เช่น
    書こう (kakou : เขียนกันเถอะ)

ข้อยกเว้น คำกริยา 行く (iku) ผันในรูป ta form / te form เป็น 行った (itta) และ 行って (itte) ซึ่งต้องแยกจำเป็นพิเศษ

การผันคำกริยา มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพูดภาษาญี่ปุ่นที่เป็นสำนวนยาวๆ หรือในกรณีที่ต้องบ่งบอกความรู้สึก ซึ่งตารางข้างต้นนี้ มีหลักเกณฑ์ในการผันคำที่ค่อนข้างชัดเจน ผู้เรียนจึงควรจดจำหลักเกณฑ์ และฝึกฝนให้สามารถผันคำกริยาได้อย่างถูกต้องทุกรูปแบบ

คำกริยาที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่อยู่คนละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1กลุ่มที่ 2
切る (kiru : ตัด)着る (kiru : สวม)
帰る (kaeru : กลับ)変える (kaeru : เปลี่ยน)
要る (iru : ต้องการ)居る (iru : อยู่)
練る (neru : นวด)寝る (neru : นอน)

ดังนั้น การผันคำกริยาข้างต้น จึงต้องผันให้ถูกต้องตามกลุ่มด้วย เช่น


pageviews 2,619,111