สาระน่ารู้ และเรื่องดีๆ |
|
|
|
|
การใช้ ~ている และ ~てる
|
|
| โดย webmaster : อ่าน 43792 ครั้ง |

การใช้คำว่า ~ている กับ ~てある ในบางกรณี อาจสับสนและเข้าใจได้ยาก จึงขอรวบรวมมาอธิบายดังนี้
■ ~ている
- การกระทำหรือสภาพ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เช่น
- ドアが開いている
doa ga aite iru
ประตูเปิดอยู่
- 歩いている
aruite iru
กำลังเดิน
- 知っている
shitte iru
ทราบอยู่แล้ว
- ผลจากการกระทำหรือสภาพที่เปลี่ยนแปลง มีต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
- 時計が止まっている
tokei ga tomatte iru
นาฬิกาหยุดเดิน
- 猫が死んでいる
neko ga shinde iru
แมวตาย
- สภาพในปัจจุบัน
- 顔が兄に似ている
kao ga ani ni nite iru
หน้าเหมือนกับพี่ชาย
- 山に囲まれている村
yama ni kakomarete iru mura
หมู่บ้านที่ถูกห้อมล้อมด้วยภูเขา
■ ~てある
- ผลของการกระทำ ยังคงมีอยู่ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
- ドアが開けてある
doa ga akete aru
ประตูเปิดอยู่
- 花が飾ってある
hana ga kazatte aru
มีดอกไม้จัดไว้
- มีการเตรียมพร้อมล่วงหน้าไว้แล้ว
- 切符を買ってある
kippu o katte aru
ซื้อตั๋วเตรียมไว้แล้ว
- 彼に伝えてある
kare ni tsutaete aru
บอกเขาไว้แล้ว
★☆★☆★☆★☆★☆★☆★☆★☆★☆★☆★☆★☆★
~ている กับ ~てある มีส่วนที่มีความหมายเหมือนกัน คือ "ผลการกระทำหรือสภาพที่เกิดขึ้น มีต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน" จึงมีปัญหาในการแยกแยะว่าควรใช้ ~ている หรือ ~てある ในกรณีใด
ตำราหลายเล่มให้แนวทางการใช้ ~ている กับ ~てある ในประเด็นดังกล่าวไว้ดังนี้
■ คำกริยาที่มีทั้งรูปอกรรมกริยาและสกรรมกริยา
เช่น 開く (aku), 開ける (akeru), 閉まる (shimaru), 閉める (shimeru), 並ぶ (narabu), 並べる (naraberu) ฯลฯ
- จะใช้ ~ている กับอกรรมกริยา ซึ่งปกติจะพูดโดยไม่สนใจว่าใครเป็นผู้ทำสิ่งนั้นให้เกิดขึ้น เช่น
- ドアが開いている
doa ga aite iru
ประตูเปิดอยู่
- 窓が閉まっている
mado ga shimatte iru
หน้าต่างปิดอยู่
- 本が並んでいる
hon ga narande iru
หนังสือเรียงอยู่
- จะใช้ ~てある กับสกรรมกริยา โดยอาจมีความหมายแฝงเป็นนัยไปถึงผู้ที่กระทำสิ่งนั้นให้เกิดขึ้น เช่น
- ドアが開けてある
doa ga akete aru
ประตูเปิดอยู่
- 窓が閉めてある
mado ga shimete aru
หน้าต่างปิดอยู่
- 本が並べてある
hon ga narabete aru
หนังสือเรียงอยู่
■ คำกริยากลุ่มที่มีเฉพาะรูปสกรรมกริยา
ส่วนใหญ่จะใช้ ~てある เช่น
-
- 本が置いてある
hon ga oite aru
มีหนังสือวางอยู่
- 名前が書いてある
namae ga kaite aru
มีชื่อเขียนอยู่
■ สกรรมกริยาที่มีผลเกิดขึ้นกับประธาน
จะใช้ ~ている เช่น
-
- 帽子をかぶっている人
boushi o kabutte iru hito
คนที่ใส่หมวก
- スーツを着ている人
suutsu o kite iru hito
คนที่ใส่สูท
ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางที่รวบรวมมาจากตำราต่างๆเท่านั้น อาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมด และอาจไม่ได้เป็นหลักเกณฑ์ตายตัวที่ต้องใช้เช่นนี้ในทุกกรณี
Webmaster
25 ธันวาคม 2555
|