![]() |
|
สาระน่ารู้ การจับปลาด้วยนกกาน้ำ (鵜飼い : ukai) | |
| |
![]() |
![]() ในสมัยโบราณ การจับปลาด้วยนกกาน้ำ ถือว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมาก ชาวประมงที่ใช้วิธีลอยเรือในแม่น้ำ อาจจะจับปลาได้ถึงวันละ 100 ตัวทีเดียว แต่หลังจากที่มีการพัฒนาเครื่องมือจับปลาชนิดต่างๆ ที่มีประสิทธภาพมากกว่า ชาวประมงที่ยึดอาชีพจับปลาด้วยนกกาน้ำ ก็มีจำนวนลดลง ปลาที่จับด้วยนกกาน้ำ คือ ปลา ayu (鮎) หรือปลา Sweetfish เป็นปลาน้ำจืดที่มีรสชาติอร่อย ![]() ชาวประมงจะจุดโคมไฟไว้ที่หัวเรือ ซึ่งเมื่อปลา ayu ตกใจแสงไฟ ก็จะว่ายแฉลบไปมา ทำให้เกล็ดปลาสะท้อนกับแสงไฟ และจะถูกนกกาน้ำจับกินโดยง่าย ชาวประมงจะผูกเชือกห่วงคล้องที่คอของนกกาน้ำเอาไว้ โดยเชือกห่วงนี้จะมีขนาดแตกต่างกันตามที่ต้องการ ปลา ayu ที่มีขนาดเล็กกว่าเชือกห่วง ก็จะหลุดเข้าลำคอ กลายเป็นอาหารของนกกาน้ำ ส่วนปลาตัวที่มีขนาดใหญ่กว่าเชือกห่วง ก็จะติดคาอยู่ที่ลำคอ ซึ่งชาวประมงจะทำให้นกกาน้ำสำรอกปลานั้นออกมา ![]() Oda Nobunaga ได้มอบฐานันดร ให้กับชาวประมงที่ยึดอาชีพนี้ว่า ujou (鵜匠) หรือครูฝึกนกกาน้ำ มีสถานะสูงเช่นเดียวกับ takajou (鷹匠) หรือครูฝึกเหยี่ยว เลยทีเดียว นอกจากนี้ บรรดาไดเมียวต่างๆ ก็ถือเป็นหน้าเป็นตา ที่จะมีปลา ayu ชั้นเลิศมารับประทาน จึงให้การสนับสนุนแก่ครูฝึกนกกาน้ำ ที่อยู่ในอาณาบริเวณของตนเช่นเดียวกัน ![]() ครูฝึกนกกาน้ำทรงเลี้ยงทั้ง 9 คนนี้ จะใช้นกกาน้ำคนละ 12 ตัว ในการจับปลา ayu เมื่อถึงฤดูกาลจับปลา ayu ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่11 พฤษภาคม ไปจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปี ครูฝึกนกกาน้ำทรงเลี้ยง จะออกจับปลา ayu รวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง เพื่อนำเป็นพระกระยาหารในพระราชวัง และสักการะต่อศาลเจ้า Meiji และศาลเจ้า Ise นอกเหนือจากครูนกกาน้ำทรงเลี้ยงนี้แล้ว ก็ยังมีผู้ยึดอาชีพจับปลาด้วยนกกาน้ำอยู่ในแม่น้ำสายอื่นๆ อีกประมาณ 12 สาย โดยมีรายได้จากทั้งการประมง และการท่องเที่ยว (การแสดง) ควบคู่กันไป Webmaster 11 พฤษภาคม 2555
|