![]() |
|
สาระน่ารู้ การให้ช็อกโกแลตในวันวาเลนไทน์ของญี่ปุ่น | |
| |
![]() |
![]() ซึ่งเข้าใจว่า การโฆษณานี้เป็นการโฆษณาแก่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในแถบเมืองโกเบเป็นหลัก เนื่องจากในขณะนั้น ธรรมเนียมการมอบดอกไม้แก่คู่รักในวันวาเลนไทน์ แทบจะยังไม่เป็นที่รู้จักของชาวญี่ปุ่นเลย แต่สำหรับการเริ่มรณรงค์ให้ชาวญี่ปุ่นรู้จักวันวาเลนไทน์นั้น น่าจะกล่าวได้ว่า เริ่มขึ้นใน พศ. 2501 คือ ในเดือนมกราคม พศ. 2501 ผู้จัดการฝ่ายขาย ของบริษัท Mary Chocolate ที่กรุงโตเกียว ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น president ของบริษัท ได้รับ Postcard ฉบับหนึ่งจากเพื่อนที่กรุงปารีส จึงได้ทราบว่า ที่ยุโรปมีประเพณีการมอบดอกไม้ การ์ด หรือช็อคโกแลต ต่อกันและกันระหว่างคู่รักในวันวาเลนไทน์ ![]() บริษัท Mary ได้ทำแคมเปญจน์ส่งเสริมการขาย ในเดือนกุมภาพันธ์ของปีเดียวกัน โดยวางจำหน่ายช็อคโกแลตในช่วงวันวาเลนไทน์ ที่ห้างสรรพสินค้า Isetan ซึ่งเป็นห้างที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในกรุงโตเกียว เป็นเวลา 3 วัน แต่ปรากฏว่าสามารถจำหน่ายช็อคโกแลตแบบแผ่น ได้เพียง 3 ชิ้น ชิ้นละ 50 เยน และจำหน่ายการ์ด ได้ 1 ใบ ใบละ 20 เยน รวมยอดขายใน 3 วัน เป็นเงินเพียง 170 เยนเท่านั้น ![]() เหตุผลที่บริษัทพยายามชี้ชวนให้ผู้หญิงเป็นฝ่ายมอบช็อคโกแลตให้กับคนที่ตนรัก เนื่องจากคนที่เข้าไปจับจ่ายซื้อของในห้างสรรพสินค้า ส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้หญิง และในช่วงเวลานั้น ก็เป็นช่วงที่ผู้หญิงเริ่มจะออกมามีบทบาทในสังคมมากขึ้น บริษัทจึงเล็งกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มผู้หญิง แต่การทำแคมเปญจน์นี้ ก็แทบจะไม่ได้รับความนิยมเช่นเคย ขณะเดียวกัน ในปี พศ. 2499 บริษัท Morinaga ผู้ผลิตขนมหวานรายใหญ่ของญี่ปุ่น ก็ทราบเรื่องเกี่ยวกับประเพณีวันวาเลนไทน์ของชาวยุโรป จากนิตยสารอังกฤษฉบับหนึ่ง ![]() ดังนั้น ในต้นปี พศ. 2503 บริษัท Morinaga จึงได้จัดแคมเปญจน์ ชื่อ "Valentine Gift Campaign" และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์และนิตยสารทั่วประเทศพร้อมกันในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ เพื่อเชิญชวนให้ชาวญี่ปุ่นมอบช็อคโกแลต เป็นของขวัญแก่คนที่ตนรักในวันวาเลนไทน์ และในปีถัดมา บริษัทก็ได้จัดแคมเปญจน์แจกรางวัล ชื่อว่า "Morinaga Chocolate Valentine Gift" เพื่อมอบของรางวัลให้กับผู้ที่ร่วมชิงโชค โดยในปี พศ. 2504 มีผู้ส่งจดหมายร่วมชิงรางวัล 2 แสนคน และเพิ่มเป็นในปี 4.2 แสนคน ในปี พศ. 2505 ทำให้วันวาเลนไทน์เริ่มเป็นที่รู้จัก แต่ยังคงไม่ถึงกับขั้นที่เรียกว่าแพร่หลายมากนัก ประมาณ 10 ปี ต่อมา สมาคมผู้ประกอบการช็อคโกแลตและโกโก้ของญี่ปุ่น ได้กำหนดให้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น "วันช็อคโกแลต" และบริษัทที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้รวมตัวกันประโคมข่าวเกี่ยวกับการมอบช็อคโกแลตในวันวาเลนไทน์ จนกระทั่งประมาณปี พศ. 2518 ธรรมเนียมการมอบช็อคโกแลตในวันวาเลนไทน์ จึงได้เริ่มซึมทราบเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตของชาวญี่ปุ่นมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบัน การให้ช็อคโกแลตในวันวาเลนไทน์ ได้แตกแขนงออกไปหลายรูปแบบ ได้แก่
![]() จึงเป็นธรรมดาที่กลุ่มผู้ประกอบการลูกอมลูกกวาดและขนมหวานต่างๆ ย่อมหาโอกาสที่จะสร้างธรรมเนียมให้ผู้ชายที่ได้รับช็อกโกแลตในวันวาเลนไทน์ จะต้องให้สิ่งตอบแทนแก่ผู้หญิงกลับไปด้วยเช่นกัน และแน่นอนว่า ย่อมต้องไม่ใช่การมอบสิ่งตอบแทนในช่วงเวลาเดียวกัน มิฉะนั้น จะกลายเป็นการรับจากฝ่ายหนึ่ง แล้วเอาไปมอบให้อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ยอดขายของผู้ประกอบการไม่เพิ่มขึ้น ดังนั้น สมาคมผู้ประกอบการเหล่านี้ จึงได้กำหนดให้วันที่ 14 มีนาคม คือ 1 เดือนถัดจากวันวาเลนไทน์ ของทุกปี เป็นวัน White Day (หรือวัน Candy Day) คือเป็นวันที่ผู้ชายจะต้องมอบสิ่งตอบแทนกลับไปให้กับผู้หญิง ในยุคฟองสบู่เฟื่องฟูสุดขีด ถึงกับมีการกำหนดกันเลยว่า จะต้องตอบแทนกลับไปเป็นมูลค่า 3 เท่าของสิ่งที่ได้รับ เล่นเอาผู้ชายแทบกระเป๋าฉีกไปตามๆกัน แต่สมัยนี้ การให้ของตอบแทน จะให้ในระดับที่มีราคาสูงกว่าสิ่งที่ได้รับมาเล็กน้อยก็พอ ![]() และสำหรับประเทศไทย อันเปรียบประหนึ่งสถานที่หลอมรวมประเพณีและวัฒนธรรมจากทั่วโลก ก็ย่อมจะไม่รอดพ้นจากธรรมเนียมดังกล่าวนี้ด้วยเช่นเดียวกัน ที่มา : http://www.morozoff.co.jp/company_ir/history_index.html http://www.mary.co.jp/about/index.html http://www.morinaga.co.jp/recipe/sp/sp_02/tale.html
|