คำช่วยภาษาญี่ปุ่น ความหมายและตัวอย่างประโยค


อ่าน 38,815 ครั้ง

คำช่วยคู่ขนาน : 並立助詞

ใช้ต่อท้ายคำหลัก (体言) หรือ「の」ซึ่งเป็นคำช่วยสร้างคำหลัก (準体助詞) เพื่อแสดงการยกตัวอย่าง มักใช้ในรูป 「~や~」 หรือ 「~や~や~など」 เป็นต้น

คำช่วยเขื่อม : 接続助詞

ใช้ต่อท้ายคำกริยาที่อยู่ในรูป shuushikei เพื่อแสดงความหมายว่า มีการกระทำอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นพร้อมกัน หรือต่อเนื่องจากการกระทำอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า 「~とすぐに」 หรือ 「~とすると」 เป็นต้น


คำช่วยจบ : 終助詞

ใช้จบท้ายประโยค โดยการต่อท้ายคำผัน (活用語) ที่อยู่ในรูปจบ (shuushikei) หรืออยู่ในรูปคำสั่ง (meireikei)

1. ใช้พูดกับบุคคลที่อยู่ในสถานะเดียวกันหรือต่ำกว่า เพื่อแสดงการกระตุ้นให้ทราบว่า ผู้พูดต้องการเห็นสิ่งนั้นเกิดขึ้น

2. ใช้แสดงการพูดตรงๆในลักษณะไม่ให้ความเกรงใจ หรือพูดแบบไม่สนใจไยดี

3. ใช้แสดงความสงสัย หรือเห็นขัดแย้ง มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า 「か」 หรือ 「だろうか」

คำช่วยอุทาน : 間投助詞

ใช้ต่อท้ายคำหลัก คำเสมือนคำหลัก หรือคำวิเศษณ์

1. ใช้ในตำแหน่งกลางประโยค

  1. เพื่อเรียกผู้อื่น
    • 田中や、ちょっとここに来い
      tanaka ya, chotto koko ni koi
      นี่ ทานากะ มาที่นี่หน่อย
    • 母ちゃんや、京子からの電話だ
      kaachan ya, kyouko kara no denwa da
      นี่ แม่ โทรศัพท์จากเคียวโกะ
  2. ใช้เพื่อเน้นย้ำความหมาย
    • またもやガソリンの値段が上がった
      mata mo ya gasorin no nedan ga agatta
      ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกแล้ว
    • 彼はカタカナも書けないし、ましてや漢字が書けるはずがない
      kare wa katakana mo kakenai shi, mashite ya kanji ga kakeru hazu ga nai
      เขาเขียนคาตาคานะก็ไม่ได้ แล้วยิ่งคันจิ ยิ่งไม่มีทางที่จะเขียนได้

2. เป็นสำนวนเก่า ใช้จบท้ายประโยค เพื่อแสดงความรู้สึกประทับใจหรือฝังใจ

คำช่วยเกี่ยวเนื่อง : 係助詞

1. ใช้ในภาษาพูด เป็นการเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า 「は」 ที่เป็นคำช่วยเกี่ยวเนื่อง

2. ใช้ในภาษาเก่า เพื่อแสดงคำถาม หรือความเห็นโต้แย้ง โดยการต่อท้ายคำหลัก หรือคำผันที่อยู่ในรูป renyoukei และ rentaikei หรือคำวิเศษณ์ หรือคำช่วยต่างๆ

คำช่วยวิเศษณ์ : 副助詞

เป็นภาษาเก่า ใช้ต่อท้ายคำหลัก (体言) หรือคำเสมือนคำหลัก เพื่อแสดงความสงสัยเล็กน้อย มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า 「か」 โดยมักใช้ในรูปว่า 「やもしれない」

คำอุทาน : 感動詞

1. เป็นคำพูดของผู้ชายเพื่อใช้ทักทายหรือร้องเรียก ในกรณีที่พบปะอย่างกะทันหันหรือโดยบังเอิญ

2. เป็นคำอุทานที่เปล่งในยามที่ตกใจ หรือไม่ได้คาดคิดมาก่อน

3. เป็นคำที่เปล่งออกมาเพื่อเพิ่มพลัง หรือเพื่อให้จังหวะ

คำกริยานุเคราะห์ : 助動詞

1. เป็นคำที่ผันมาจากคำกริยานุเคราะห์ คือ 「じゃ」 มักใช้ในเขตคันไซเป็นหลัก

2. เป็นภาษาเก่า ซึ่งผันมาจากคำว่า 「やれ」 ซึ่งเป็นคำในรูปคำสั่งของคำกริยานุเคราะห์ที่เป็นคำสุภาพคือ 「やる」

คำท้าย : 接尾語

ใช้ต่อท้ายคำสรรพนามแทนคน หรือต่อท้ายชื่อคน เพื่อแสดงความสนิทสนม

pageviews 2,047,780