คำช่วยภาษาญี่ปุ่น ความหมายและตัวอย่างประโยค


อ่าน 41,386 ครั้ง

คำช่วยสถานะ : 格助詞

เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แสดงเวลาและตำแหน่งหรือขอบเขต ที่เกิดการเคลื่อนไหว การกระทำ และการมีอยู่

ปัจจุบันมีวิธีการใช้งานหลากหลาย โดยใช้ต่อท้ายคำนาม คำที่มีสถานะเดียวกับคำนาม คำกริยาที่ผันในรูป renyoukei หรือ rentaikei หรือคำอื่นๆ เพื่อแสดงความหมายในลักษณะต่างๆ ดังนี้

1. แสดงเวลาที่เกิดการกระทำ

2. แสดงสถานที่หรืออาณาบริเวณที่แสดงสภาพการมีอยู่ ของคน สัตว์ สิ่งของ และเรื่องราว หรือแสดงสภาพที่เกิดขึ้นของเรื่องราวและเหตุการณ์

3. แสดงสถานที่หรืออาณาบริเวณอันเป็นจุดหมายปลายทางหรือทิศทาง

4. แสดงสถานที่และอาณาบริเวณที่เกิดการกระทำ อันมีลักษณะในเชิงสภาพ มากกว่าในเชิงเคลื่อนไหว

5. แสดงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย หรือคู่กรณี

6. แสดงสิ่งที่เป็นสาเหตุ เหตุผล หรือมูลเหตุ มีความหมายเดียวกับคำว่า 「…のために」 หรือ 「…によって」

7. แสดงมาตรฐานในการเปรียบเทียบ สัดส่วน หรือสิ่งที่อ้างอิงในการเปรียบเทียบ

8. แสดงบุคคลหรือเป้าหมายที่เป็นผู้กระทำหรือถูกกระทำ

9. แสดงผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงหรือการกระทำ

10. แสดงสภาพความเป็นไปหรือสภาพความเป็นอยู่ของการกระทำ

11. แสดงสถานะ ใช้ในความหมายเดียวกับคำว่า 「として」

12. แสดงความเคารพต่อบุคคลที่กล่าวถึง โดยมักใช้ในรูป 「は」 หรือ 「も」

คำช่วยคู่ขนาน : 並立助詞

ใช้กับคำนาม หรือคำที่มีสถานะเสมือนคำนาม ทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนัก หักล้าง เปรียบเทียบ หรือแสดงลำดับ สิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

คำช่วยเชื่อม : 接続助詞

1. ใช้ต่อท้ายคำกริยาที่อยู่ในรูป shuushikei เพื่ออารัมภบทก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่อง โดยมีความหมายเดียวกับคำว่า 「…と」 หรือ 「…ところ」

2. ใช้ในรูป「…もあろう」เพื่ออารัมภบทในลักษณะขัดแย้ง ก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่อง

3. ใช้ในภาษาเก่า เพื่อแสดงว่าเหตุการณ์ที่กล่าวถึงตอนต้นและตอนหลัง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับต่อเนื่องกัน โดยมีความหมายเดียวกับคำว่า 「…すると」 หรือ 「…したところ」

4. ใช้ในภาษาเก่า เพื่อแสดงว่าเหตุการณ์ที่กล่าวถึงตอนต้นเป็นสาเหตุหรือเหตุผลของเหตุการณ์ที่กล่าวถึงตอนหลัง โดยมีความหมายเดียวกับคำว่า 「ので」 「から」 หรือ 「だから」

5. ใช้ในภาษาเก่า เพื่อแสดงว่าเหตุการณ์ที่กล่าวถึงตอนหลังขัดแย้งกับเหตุการณ์ที่กล่าวถึงในตอนต้น โดยมีความหมายเดียวกับคำว่า 「のに」 「が」 「だが」 หรือ 「けれども」

6. ใช้ในภาษาเก่า เพื่อแสดงว่าเหตุการณ์ที่กล่าวถึงตอนต้น เป็นเหตุการณ์ที่สมมุติขึ้นจากเหตุการณ์ที่กล่าวถึงในตอนหลัง โดยจะใช้ในรูปคำว่า 「む

คำช่วยจบ : 終助詞

1. ใช้ในการอธิบายให้เข้าใจ พร้อมกับแสดงความรู้สึกสงสารหรือเสียดาย โดยใช้ในรูป 「…う」 หรือ 「…よう

2. ใช้ในภาษาเก่า เพื่อแสดงการร้องขอ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า 「…てほしい」

3. ใช้ในภาษาเก่า ใช้ในการเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า 「…のにな」

คำกริยานุเคราะห์ : 助動詞

1. ใช้ในภาษาเก่า เพื่อแสดงความหมายหักล้าง เช่นเดียวกับคำว่า「ず」ซึ่งเป็นคำกริยานุเคราห์ หรือคำว่า 「…ないで」 และ 「…ないので」

2. ใช้ในภาษาเก่า เพื่อแสดงความหมายยืนยัน เช่นเดียวกับคำว่า「なり」ซึ่งเป็นคำกริยานุเคราห์

3. ใช้ในภาษาเก่า เพื่อแสดงความหมายการจบสมบูรณ์ เช่นเดียวกับคำว่า「ぬ」ซึ่งเป็นคำกริยานุเคราห์

pageviews 2,047,774