ห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นไม่ยากอย่างที่คิด

อ่าน 160,792 ครั้ง

~だろう、~でしょう เป็นสำนวนแสดงการคาดคะเน โดยมีรูปแบบคือ

คำกริยา /dic form
คำคุณศัพท์ /dic form
+だろう
でしょう

  1. もうすぐ電車が来るでしょう
    mou sugu densha ga kuru deshou
    อีกสักครู่รถไฟคงจะมาครับ/ค่ะ
  2. 先生も一緒に行くでしょう
    sensei mo issho ni iku deshou
    อาจารย์คงจะไปด้วยครับ/ค่ะ
  3. 一人でやっても大丈夫だろう
    hitori de yatte mo daijoubu darou
    ทำคนเดียวก็คงไม่เป็นไร
  4. この時計は高いだろう
    kono tokei wa takai darou
    นาฬิกานี้คงจะแพง

คำอธิบาย

พบ 19 ความเห็นในบทเรียนนี้

ความเห็นที่ 1
เรียนบทนี้พอดีด้วย ขอถามหน่อยนะครับว่า

คำคุณศัพท์กลุ่ม 1 และ 2 เวลานำหน้า だろう หรือ でしょう ที่ว่าเป็นรูปพจนานุกรมนี่คือ
กลุ่ม い ก็เอา い คงไว้เหมือนเดิม กลุ่ม な ก็ไม่ต้องใส่ な ใช่มั้ยครับ

ส่วนคำนามอันนี้ เอ่อ ก็คงเหมือนคุณศัพท์กลุ่มสอง คือไม่ต้องใส่ だ ใช่มั้ยครับ

สงสัยตรงส่วนนี้ล่ะครับ (ที่จริงก็ยังงงๆ ว่าคำนามหรือคำคุณศัพท์ที่ใส่ だ มันเป็นรูปอะไร
เพราะคำคุณศัพท์ใส่ な ก็พอจะรู้ว่าเป็นการนำหน้าคำนามของมัน หรือใส่ に ก็คือ
การนำหน้ากริยา แต่ว่าเจ้า だ นี่อยู่ๆก็มา ก็เลยยังสับสนน่ะครับ ฮ่ะๆๆ [mmm])

รบกวนด้วยครับผ้ม
Benz Domo 3 ตค 55 12:44

ความเห็นที่ 2
ใช่ครับ
คำคุณศัพท์ -い ก็ต่อด้วย だろう หรือ でしょう เลย
เช่น 大きいだろう หรือ 小さいでしょう

ส่วนคำคุณศัพท์ -な ก็ไม่ใส่ な คือต่อด้วย だろう หรือ でしょう ได้เลย
เช่น きれいだろう หรือ 元気でしょう

สำหรับคำนาม ก็ต่อท้ายด้วย だろう หรือ でしょう ได้เลย เช่น
彼は日本人でしょう (kare wa nihonjin deshou : เขาคงเป็นคนญี่ปุ่นครับ/ค่ะ)

สรุปก็คือ มีลักษณะการใช้งานเหมือนกับ だ หรือ です
แต่ผสมกับคำว่า う ซึ่งเป็นคำกริยานุเคราะห์แสดงการคาดคะเนะ กลายเป็น だろう และ でしょう ครับ

บทหลังๆ ผมอธิบายไม่ค่อยละเอียด ต้องขอโทษด้วย
จะค่อยๆ หาเวลาปรับปรุงเนื้อหาไปเรื่อยๆนะครับ

----------------------------------

การใช้ だ เขียนอยู่ในหัวข้อ "คำช่วยต่างๆ"
คือเป็นคำกริยานุเคราะห์ เพื่อแสดงความหมายลงความเห็นแบบยืนยัน
ใช้ต่อท้ายคำนาม คำวิเศษณ์ เป็นต้น

ส่วนคำคุณศัพท์ที่เห็นว่ามี だ ต่อท้าย
เป็นการผันคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 (-na) ให้อยู่ในรูปจบประโยค

ถ้าจะศึกษาจริงๆ ต้องศึกษาเรื่องไวยากรณ์โดยตรง
ซึ่งผมเขียนสรุปสั้นๆ ไว้ในไวยากรณ์บทที่ 4 เรื่องคำคุณศัพท์ครับ
webmaster 3 ตค 55 18:24

ความเห็นที่ 3
อ๋อ อย่างนี้นี่เอง พอจะเข้าใจแล้วครับ แหม ต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไปสินะ
ช่วงนี้ไม่ค่อยได้ทบทวนญี่ปุ่นเลย มัวแต่ไปสรุปวิชาอื่นๆอยู่จนเครียดและก็ไม่ได้ไรเลย
อย่างน้อยก็ต้องเอาเข้าใจสักวิชาล่ะน่ะ อิอิอิ

ขอบคุณมากนะครับที่ช่วยไขข้อข้องใจ รบกวนบ่อยเลยเดี๋ยวนี้ บทหลังๆก็เริ่มยากแล้ว อิอิอิ
Benz Domo 3 ตค 55 19:01

ความเห็นที่ 4
ไม่เป็นไรเลย เป็นการช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับบทเรียนครับ ^^
webmaster 3 ตค 55 19:18

ความเห็นที่ 5
ไหนๆก็กลับมาทั้งทีก็อยากถามข้อสงสัยที่ค้างในใจให้หมดเลย อิอิอิ
คือ ตอนเรียนๆมาก็ได้รู้จักับรูปคล้ายๆกันนี้ล่ะครับ (รูปเดียวกันเลยแหละ)

คือ だろう กับ でしょう นี่ นอกจากมันจะแปลว่า "คงจะ..." ที่ใช้ในการคาดคะเนแล้ว
เหมือนกับได้ยินว่ามันเป็นรูปคำถาม ที่แปลประมาณว่า "...ใช่มั้ย" ด้วยหรือเปล่าครับ

หรือว่าสองตัวนี้ ถึงจะเหมือนกันแต่มีวิธีใช้ต่างกันยังไงเหรอครับ สงสัยตรงนี้ล่ะครับ
รบกวนด้วยครับผ้ม [sad]
Benz Domo 19 ธค 55 19:14

ความเห็นที่ 6
でしょう เป็นฟอร์มสุภาพของ だろう ครับ

ปกติจะมีความหมายเป็นการคาดคะเน
もうすぐ来るでしょう
อีกสักครู่ คงจะมา

แต่ถ้าขึ้นเป็นเสียงสูง จะเป็นการเน้นย้ำหรือคาดคั้นกับฝ่ายตรงข้าม หรือคาดหวังให้ฝ่ายตรงข้ามเห็นด้วยกับสิ่งที่ตนเองคาดคะเน ครับ
もうすぐ来るでしょう
อีกสักครู่ คงจะมาใช่ไหม (มาแน่ๆใช่ไม๊ (คาดคั้น)/ (เธอก็คิดว่า) คงจะมาใช่ไหม)
webmaster 21 ธค 55 21:33

ความเห็นที่ 7
**** ถ้าไม่รู้ไม่แน่ใจอย่านำพาคนอื่นไปผิดด้วย
せんつけ 16 มค 56 21:06

ความเห็นที่ 8
หากคุณ せんつけ เห็นว่า ส่วนใดไม่ถูกต้อง
รบกวนช่วยสละเวลาอธิบายสัก 2-3 นาทีเท่านั้น
ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องการศึกษา
มากกว่าการใช้คำพูดในลักษณะที่คุณโพสต์

ขอความร่วมมือด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
webmaster 17 มค 56 17:12

ความเห็นที่ 9
わかります そして... どうもありがとう ごさいます
Hira 18 กพ 58 08:26

ความเห็นที่ 10
คุณ Hira
เข้าใจแล้ว ใช้เป็นรูปอดีต คือ わかりました ครับ
webmaster 21 กพ 58 01:39

2

pageviews 8,171,413