ไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น เรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตนเอง

อ่าน 280,602 ครั้ง

คำช่วย (助詞 : joshi)

เป็นคำพ่วง (zokugo) ที่ไม่ผันรูป ใช้ตามหลังคำอิสระ (jiritsugo) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์กับคำนั้นกับคำอื่นในประโยค หรือเพื่อเติมความหมายให้กับคำอิสระ แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ

1. คำช่วยสถานะ (格助詞 : kakujoshi)

เป็นคำที่ต่อท้ายคำหลัก (taigen) เพื่อแสดงว่าคำหลักนั้นมีสถานะเกี่ยวข้องกับคำอื่นในประโยคอย่างไร ประกอบด้วย 11 คำ คือ

より
から まで

が เป็นคำช่วยขั้นพื้นฐานที่สุด สามารถใช้ในประโยคที่ภาคแสดงเป็นคำกริยา คำคุณศัพท์ หรือคำนาม ก็ได้ โดยมีหน้าที่ดังนี้

1. ชี้ประธาน

本を読みます
Watashi ga hon o yomimasu
ฉันอ่านหนังสือ

きれいです
Sakura ga kirei desu
ดอกซากุระสวย

2. ชี้กรรม ในกรณีที่ใช้กับคำกริยาหรือคำคุณศัพท์บางชนิด

日本語わかりません
Nihongo ga wakarimasen
ไม่เข้าใจภาษาญี่ปุ่น

りんご好きです
Ringo ga suki desu
ชอบแอปเปิ้ล

の เป็นคำช่วยชี้ความสัมพันธ์ หรือเปลี่ยนสถานะกริยาวลีเป็นนามวลี หรือชี้ประธานในนามวลี โดยมีหน้าที่ดังนี้

1. ชี้ความสัมพันธ์

これは私本です
Kore wa watashi no hon desu
นี่คือหนังสือของฉัน

日本語先生は田中さんです
Watashi no nihongo no sensei wa Tanaka san desu
อาจารย์ภาษาญี่ปุ่นของฉันคือคุณทานากะ

バンコク気温は三十五度です
Bankoku no natsu no kion wa sanjuugo do desu
อุณหภูมิในหน้าร้อนของกรุงเทพคือ 35 องศา

2. เปลี่ยนสถานะกริยาวลีเป็นนามวลี

友達が来るを待っています
Tomodachi ga kuru no o matte imasu
กำลังรอเพื่อนมา

私は本を読むが好きです
Watashi wa hon o yomu no ga suki desu
ฉันชอบอ่านหนังสือ

3. ชี้ประธานในนามวลี

きみ探している物は財布ですか
Kimi no sagashiteiru mono wa saifu desu ka
สิ่งที่เธอกำลังหาคือกระเป๋าสตางค์หรือเปล่า

咲く頃に、もう一度会いましょう
Sakura no saku koro ni, mou ichido aimashou
แล้วพบกันอีกครั้งหนึ่งช่วงที่ซากุระบาน

を เป็นคำช่วยที่ใช้กับประโยคที่มีภาคแสดงเป็นคำกริยาเท่านั้น ทำหน้าที่ดังนี้

1. ชี้สิ่งที่กล่าวถึง ซึ่งจะเป็นการกระทำโดยตรงหรือเป็นนามธรรมก็ได้

読む
Hon o yomu
อ่านหนังสือ

愛する
Hito o ai suru
รักเพื่อนมนุษย์

うそ言う
Uso o iu
พูดโกหก

かぜ引く
Kaze o hiku
เป็นหวัด

2. ชี้สถานที่ซึ่งเกิดการเดินทาง (คำกริยาเป็นอกรรมกริยา)

道路渡る
Douro o wataru
ข้ามถนน

歩道歩く
Hodou o aruku
เดินบนทางเท้า

3. ชี้สถานที่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น (คำกริยาเป็นอกรรมกริยา)

部屋出る
Heya o deru
ออกจากห้อง

空港出発する
Kuukou o shuppatsu suru
ออกเดินทางจากสนามบิน

4. ชี้บุคคลหรือสิ่งที่ถูกกระทำ

満足させる
Kyaku o manzoku saseru
ทำให้แขกพอใจ

子供笑わせる
Kodomo o warawaseru
ทำให้เด็กหัวเราะ

に เป็นคำช่วยที่มีลักษณะการใช้งานหลายรูปแบบ

1. ชี้สถานที่ปลายทาง มีความหมายคล้ายกันกับ へ

帰る
Ie ni kaeru
กลับบ้าน

部屋戻る
Heya ni modoru
กลับห้อง

2. ชี้สถานที่ซึ่งผลของการกระทำคงเหลืออยู่

ホテル泊まる
Hoteru ni tomaru
นอนที่โรงแรม

学校いる
Gakkou ni iru
อยู่ที่โรงเรียน

3. ชี้บุคคลหรือสิ่งที่เป็นเป้าหมาย

他人頼る
Tanin ni tayoru
พึ่งคนอื่น

詳しい
Kuruma ni kuwashii
เชี่ยวชาญเรื่องรถยนต์

4. ชี้ฝ่ายตรงข้ามที่เป็นคู่กรณี และหากมีคำช่วย を จะหมายถึงทิศทางด้วย

友達会う
Tomodachi ni au
พบเพื่อน

恋人手紙を書く
Koibito ni tegami o kaku
เขียนจดหมายถึงแฟน

5. ชี้ผู้ที่มีอุปการะ (ผู้ที่ทำให้)

先生日本語を教わる
Sensei ni nihongo o osowaru
เรียนภาษาญี่ปุ่นจากอาจารย์

友達プレゼントをもらった
Tomodachi ni purezento o moratta
ได้รับของขวัญจากเพื่อน

6. ชี้เวลาที่เกิดการกระทำ

十一時寝る
Juuichi ji ni neru
นอนตอน 11 น.

去年生まれた
Kyonen ni umareta
เกิดเมื่อปีที่แล้ว

7. ชี้สาเหตุ

濡れる
Ame ni nureru
เปียกฝน

驚く
Oto ni odoroku
ตกใจเสียง

8. ชี้สิ่งเปรียบเทียบ

似ている
Oya ni nite iru
เหมือนกับพ่อแม่

は難しい
Watashi ni wa muzukashii
ยากสำหรับฉัน

9. ชี้ผลที่เปลี่ยนแปลง

円をバーツ替える
En o baatsu ni kaeru
แลกเงินเยนเป็นบาท

普段着着替える
Fudangi ni kigaeru
เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดอยู่กับบ้าน

10. ชี้บุคคลที่ถูกใช้ให้ทำ

子供勉強をさせる
Kodomo ni benkyou o saseru
ให้ลูกเรียนหนังสือ

友達行かせる
Tomodachi ni ikaseru
ให้เพื่อนไป

11. ชี้บุคคลที่เป็นผู้กระทำ (คำกริยาผันอยู่ในรูปถูกกระทำ)

先生しかられる
Sensei ni shikarareru
ถูกอาจารย์ดุ

友達騙された
Tomodachi ni damasareta
ถูกเพื่อนหลอก

へ เป็นคำช่วยเพื่อใช้ชี้ทิศทาง โดยมีรูปแบบการใช้งานคล้ายกับ に ในความหมายสถานที่ปลายทาง

1. ชี้ทิศทาง

日本行きたい
Nihon e ikitai
อยากไปญี่ปุ่น

どこか行こう
Doko ka e ikou
ไปที่ไหนซักแห่งกันเถอะ

で เป็นคำช่วยที่มีลักษณะการใช้งานหลายรูปแบบดังนี้

1. ชี้สถานที่ซึ่งเกิดการกระทำ

学校勉強する
Gakkou de benkyou suru
เรียนที่โรงเรียน

食堂ご飯を食べる
Shokudou de gohan o taberu
ทานข้าวที่โรงอาหาร

2. ชี้เครื่องมือหรือวิธีการ

スプーンご飯を食べる
Supuun de gohan o taberu
ทานข้าวด้วยช้อน

日本語話しましょう
Nihongo de hanashimashou
พูดด้วยภาษาญี่ปุ่นกันเถอะ

3. ชี้กรอบหรือจุดสิ้นสุดขอบเขต

三十分食べます
Sanjuppun de tabemasu
ทานใน 30 นาที

このドラマは今日終わります
Kono dorama wa kyou de owarimasu
ละครเรื่องนี้จบในวันนี้

4. ชี้หลักเกณฑ์

三個百円
Sanko de hyakuen
สามชิ้นร้อยเยน

日本円千円です
Nihon-en de sen-en desu
1,000 เยน ด้วยเงินเยน

5. ชี้สาเหตุหรือหลักฐาน

かぜ学校に行かなかった
Kaze de gakkou ni ikanakatta
ไม่ไปโรงเรียนเพราะเป็นหวัด

わかる
Koe de wakaru
ทราบจากเสียง

6. ชี้สภาพหรืออาการ

はだし歩く
Hadashi de aruku
เดินเท้าเปล่า

びっくりした顔話す
Bikkuri shita kao de hanasu
พูดด้วยหน้าตาตกใจ

7. ชี้ผู้กระทำ

みんな行きましょう
Minna de ikimashou
ไปด้วยกันทุกคนเถอะ

私たち作ります
Watashitachi de tsukurimasu
พวกเราจะเป็นคนทำ

8. ชี้วัตถุดิบ

テーブルは木つくられた
Teeburu wa ki de tsukurareta
โต๊ะทำจากไม้

と มีความหมายในเชิงคำว่า "กับ"

1. ชี้ความสัมพันธ์

私は彼結婚する
Watashi wa kare to kekkon suru
ฉันจะแต่งงานกับเขา

友達話す
Tomodachi to hanasu
พูดกับเพื่อน

2. ชี้บุคคลที่ร่วมทำด้วยกัน

子供遊ぶ
Kodomo to asobu
เล่นกับลูก

動物園に行く
Kare to doubutsuen ni iku
ไปสวนสัตว์กับเขา

より

より เป็นคำช่วยชี้การเปรียบเทียบ หรือจุดเริ่มต้น

1. ชี้การเปรียบเทียบ

カタカナはひらがなより難しいです
Katakana wa hiragana yori muzukashii desu
คาตาคานะยากกว่าฮิรางานะ

より弟のほうが背が高いです
Watashi yori otouto no hou ga se ga takai desu
น้องชายสูงกว่าฉัน

2. ชี้จุดเริ่มต้น หรือที่มา

これより始めます
Kore yori hajimemasu
จะเรื่ม ณ บัดนี้

辞書より引用します
Jisho yori in-you shimasu
อ้างอิงจากพจนานุกรม

から

から เป็นคำช่วยที่มีความหมายในเชิงคำว่า "จาก"

1. ชี้จุดเริ่มต้น

私はタイから来ました
Watashi wa tai kara kimashita
ฉันมาจากประเทศไทย

会社は九時から始まります
Kaisha wa kuji kara hajimarimasu
บริษัทเริ่มตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกา

最初からやり直します
Saisho kara yari naoshimasu
เริ่มทำใหม่ตั้งแต่ต้น

あなたから話してください
Anata kara hanashite kudasai
เชิญพูดเริ่มจากคุณ

2. ชี้ฝ่ายตรงข้าม

先生から聞きました
Sensei kara kikimashita
ได้ยินจากอาจารย์

友達から本を買いました
Tomodachi kara hon o kaimasita
ซื้อหนังสือจากเพื่อน

3. ชี้ผู้มีอุปการะ

お父さんからもらいました
otousan kara moraimasita
ได้รับจากคุณพ่อ

友達から借ります
Tomodachi kara karimasu
ยืมจากเพื่อน

4. ชี้วัตถุดิบ

チーズは牛乳からつくられた
Chiizu wa gyuunyuu kara tsukurareta
เนยแข็งทำมาจากนม

みかんからジュースをつくる
mikan kara juusu o tsukuru
ทำน้ำผลไม้จากส้ม

5. ชี้หลักฐาน เหตุผล

指紋から犯人が逮捕された
Shimon kara hannin ga taiho sareta
คนร้ายถูกจับจากรอยนิ้วมือ

6. ชี้ผู้กระทำ

から送ってきました
Imouto kara okuttekimashita
น้องสาวส่งมา

7. ชี้ผู้กระทำ ในกรณีที่คำกริยาผันอยู่ในรูปถูกกระทำ

先生からほめられました
Sensei kara homeraremashita
ถูกชมจากกอาจารย์

みんなから笑われました
Minna kara warawaremashita
ถูกหัวเราะจากทุกคน

まで

まで เป็นคำช่วยที่ใช้ร่วมกับ から เพื่อชี้กรอบ ขอบเขต หรือจุดที่สิ้นสุด

1. ใช้ได้กับคำที่เกี่ยวกับสถานที่ เวลา หรือเรืองอื่นๆทั่วไป

東京から大阪まで運転しました
Toukyo kara oosaka made unten shimashita
ขับรถตั้งแต่โตเกียวถึงโอซากา

きのうから今朝まで雨が降りました
Kinou kara kesa made ame ga furimashita
ฝนตกตั้งแต่เมื่อวานจนถึงเช้าวันนี้

冬休みは来週までです
Fuyu yasumi wa raishuu made desu
วันหยุดฤดูหนาวถึงสัปดาห์หน้า

や เป็นคำช่วยชี้สิ่งคู่ขนาน

1. ชี้สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นคู่ขนาน

私は本新聞を読む
Watashi wa hon ya shinbun o yomu
ฉันอ่านหนังสือและหนังสือพิมพ์

2. คำช่วยเชื่อม (接続助詞 : setsuzoku joshi)

ทำหน้าที่ต่อท้ายคำแสดง (yougen) และคำกริยานุเคราะห์ เพื่อมีความหมายเชื่อมต่อกับคำหรือวลีที่ตามมา เช่น

ても ので
けれど から のに
つつ ものの ながら たり

1. แสดงการเชื่อมโยงสิ่งที่สอดคล้องแบบสมมุติ

雨が降れ、試合は中止になる
Ame ga fureba, shiai wa chuushi ni naru
ถ้าฝนตก การแข่งขันจะยุติ

練習すれ、うまくなります
Renshuu sureba, umaku narimasu
ถ้าฝึกซ้อม ก็จะเก่ง

2. แสดงการเชื่อมโยงสิ่งที่สอดคล้องแบบยืนยัน (เงื่อนไขปกติ)

4月になれ、桜が咲く
Shigatsu ni nareba, sakura ga saku
เมื่อถึงเดือนเมษายน ซากุระจะบาน

非常ボタンを押せ、電車は止まります
Hijou botan o oseba, densha wa tomarimasu
ถ้ากดปุ่มฉุกเฉิน รถไฟจะหยุด

3. แสดงสิ่งที่ต่างฝ่ายต่างเป็นอย่างคู่ขนาน

大人もいれ、子どももいる
Otona mo ireba, kodomo mo iru
มีทั้งผู้ใหญ่และเด็ก

英語も話せ、日本語も話せる
Eigo mo hanaseba, nihongo mo hanaseru
พูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและทั้งภาษาญี่ปุ่น

ても

ても แสดงความหมายขัดแย้งแบบสมมุติ

練習しても、うまくならないでしょう
Renshuu shitemo, umaku naranai deshou
ถึงฝึกซ้อม ก็คงไม่เก่ง

何度失敗しても、あきらめない
Nando shippai shitemo, akiramenai
ถึงจะล้มเหลวสักกี่ครั้ง ก็จะไม่ย่อท้อ

ので

ので แสดงความหมายสอดคล้องอย่างยืนยัน

練習したので、うまくなりました
Renshuu shita node, umaku narimashita
เนื่องจากฝึกซ้อม จึงเก่งขึ้น

が แสดงความหมายขัดแย้งอย่างยืนยัน

練習した、うまくなりませんでした
Renshuu shita ga, umaku narimasen deshita
ฝึกซ้อมแล้ว แต่ก็ไม่เก่งขึ้น

し แสดงความหมายคู่ขนาน

彼はサッカーもできる、テニスもできます
Kare wa sakkaa mo dekiru shi, tenisu mo dekimasu
เขาเล่นฟุตบอลก็ได้ และเล่นเทนนิสก็ได้

3. คำช่วยเกี่ยวเนื่อง (係助詞 : kakari joshi)

ใช้ต่อท้ายคำศัพท์ต่างๆ เพื่อเน้นย้ำความหมาย เช่น

こそ さえ
でも しか

は แสดงการจำแนกความแตกต่างกับสิ่งอื่น

これ私の本です
Kore wa watashi no hon desu
นี่คือหนังสือของฉัน

も แสดงความหมายเสริม คู่ขนาน หรือเน้นย้ำ

タイ人です
Watashi mo taijin desu
ฉันก็เป็นคนไทย

これしたい、あれしたい
Kore mo shitai, are mo shitai
นี่ก็อยากทำ โน่นก็อยากทำ

こそ

こそ แสดงการเน้นย้ำ

今日こそ勉強します
Kyou koso benkyou shimasu
จะเรียนวันนี้ล่ะ

さえ

さえ แสดงการอุปมา การจำกัด หรือการเสริม

彼でさえわからない
Kare de sae wakaranai
ขนาดเขา ยังไม่รู้

でも

でも แสดงการอุปมา หรือยกตัวอย่าง

映画館でも行きましょうか
Eigakan demo ikimashou ka
ไปโรงหนังกันดีไหม

しか

しか แสดงการจำกัด

英語しか話せません
Eigo shika hanasemasen
พูดได้เฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น

4. คำช่วยวิเศษณ์ (副助詞 : fukujoshi)

ใช้ต่อท้ายคำนาม คำวิเศษณ์ หรือคำช่วยสถานะ เพื่อช่วยขยายความในลักษณะของคำวิเศษณ์ เช่น

なり やら ほど くらい
だけ まで ばかり など
なり

なり แสดงการเลือก หรือยกตัวอย่าง

本を読むなり音楽を聞くなりゆっくり休んでください
Hon o yomu nari ongaku o kiku nari yukkuri yasunde kudasai
พักผ่อนสบายๆ โดยจะอ่านหนังสือหรือจะฟังเพลงก็ได้

やら

やら แสดงการไม่ยืนยัน หรือแสดงรายการ

ペンやら鉛筆やらを買いました
Pen yara enpitsu yara o kaimashita
ซื้อปากกาบ้างดินสอบ้าง

ほど

ほど แสดงปริมาณหรือสัดส่วน

八時間ほど寝ました
Hachi jikan hodo nemashita
นอนประมาณ 8 ชั่วโมง

くらい

くらい แสดงปริมาณหรือยกตัวอย่าง

このくらいなら高くないです
Kono kurai nara takakunai desu
ถ้าขนาดนี้ ก็ไม่แพง

だけ

だけ แสดงปริมาณหรือความจำกัด

だけが日本語を話せます
Watashi dake ga nihongo o hanasemasu
ฉันเท่านั้นพูดภาษาญี่ปุ่นได้

まで

まで แสดงขอบเขต การจำกัด หรือการเสริม

夏休みは今日までです
Natsu yasumi wa kyou made desu
วันหยุดฤดูร้อนถึงวันนี้เท่านั้น

ばかり

ばかり แสดงปริมาณหรือการจำกัด

五分ばかり待つと雨が止みました
Gofun bakari matsu to ame ga yamimashita
รอประมาณ 5 นาที ฝนก็หยุดตก

など

など แสดงปริมาณ หรือไม่ให้ความสำคัญ

ピアノやバイオリンなどを習いたいです
Piano ya Baiorin nado o naraitai desu
อยากเรียนเปียนโนหรือไวโอลินเป็นต้น

などと話しても、意味がありません
Kare nado to hanashite mo, imi ga arimasen
ถึงจะพูดกับเขา ก็ไม่มีประโยชน์อะไร

5. คำช่วยจบ (終助詞 : shuujoshi)

ทำหน้าที่จบท้ายประโยคหรือวลี เพื่อแสดงอารมณ์หรือความตั้งใจ เช่น

とも ね (ねえ)

な แสดงความหมายสั่งห้าม หรือแสดงอารมณ์

勝手に食べる
Katte ni taberu na
อย่าทานโดยพลการ

アイスクリームを食べたい
Aisukuriimu o tabetai na
อยากทานไอศครีมจัง

か แสดงคำถาม ความสงสัย หรืออารมณ์

これは何です
Kore wa nan desu ka
นี่คืออะไร

誰がこんな質問を答える
Dare ga konna shitsumon o kotaeru ka
ใครจะไปตอบคำถามแบบนี้

の แสดงคำถาม หรือการยืนยัน

この漢字は何と読む
Kono kanji wa nan to yomu no
คันจิตัวนี้อ่านว่าอะไรหรือ

それは「ニホン」と読む
Sore wa "Nihon" to yomu no
นั่นอ่านว่า "นิฮง"

よ แสดงความมุ่งมั่น หรือชักชวน

来週遊園地に行こう
Raishuu yuuenchi ni ikou yo
สัปดาห์หน้าไปสวนสนุกกันเถอะ

来週遊園地に行く
Raishuu yuuenchi ni iku yo
สัปดาห์หน้าจะไปสวนสนุกกันนะ

ぞ แสดงความหมายมุ่งมั่น

絶対に合格する
Zettai ni goukaku suru zo
จะต้องสอบผ่านให้ได้

とも

とも แสดงความหมายมั่นใจ

今度は成功するとも
Kondo wa seikou suru tomo
ครั้งหน้าต้องสำเร็จแน่

ね, ねえ

ね หรือ ねえ แสดงความหมายตอกย้ำ หรือแสดงอารมณ์

来週遊園地に行くよ
Raishuu yuuenchi ni iku yo ne
สัปดาห์หน้าจะไปสวนสนุกกันแน่ๆนะ

早く遊園地に行きたいねえ
Hayaku yuuenchi ni ikitai nee
อยากไปสวนสนุกกันเร็วๆจังเลยนะ

わ แสดงอารมณ์ หรือความมุ่งมั่น

彼と別れてよかった
Kare to wakarete yokatta wa
เลิกคบกับเขาแล้วดีจริงๆ

さ แสดงการยืนยัน

この漢字はこうして書くの
Kono kanji wa kou shite kaku no sa
คันจิตัวนี้้เขียนแบบนี้นะ

pageviews 2,619,143