สาระน่ารู้ เรียนรู้เรื่องญี่ปุ่นกับ J-Campus

การใช้คำว่า ~ている และ ~てある

โดย webmaster : อ่าน 45,670 ครั้ง

การใช้คำว่า ~ている กับ ~てある ในบางกรณี อาจสับสนและเข้าใจได้ยาก จึงขอรวบรวมมาอธิบายดังนี้

■ ~ている

1. การกระทำหรือสภาพ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เช่น

2. ผลจากการกระทำหรือสภาพที่เปลี่ยนแปลง มีต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

3. สภาพในปัจจุบัน

■ ~てある

1. ผลของการกระทำ ยังคงมีอยู่ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

2. มีการเตรียมพร้อมล่วงหน้าไว้แล้ว

★☆★☆★☆★☆★☆★☆★☆★☆★☆★☆★

~ている กับ ~てある มีส่วนที่มีความหมายเหมือนกัน คือ "ผลการกระทำหรือสภาพที่เกิดขึ้น มีต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน" จึงมีปัญหาในการแยกแยะว่าควรใช้ ~ている หรือ ~てある ในกรณีใด

ตำราหลายเล่มให้แนวทางการใช้ ~ている กับ ~てある ในประเด็นดังกล่าวไว้ดังนี้

■ คำกริยาที่มีทั้งรูปอกรรมกริยาและสกรรมกริยา

เช่น 開く (aku), 開ける (akeru), 閉まる (shimaru), 閉める (shimeru), 並ぶ (narabu), 並べる (naraberu) ฯลฯ

1. จะใช้ ~ている กับอกรรมกริยา ซึ่งปกติจะพูดโดยไม่สนใจว่าใครเป็นผู้ทำสิ่งนั้นให้เกิดขึ้น เช่น

2. จะใช้ ~てある กับสกรรมกริยา โดยอาจมีความหมายแฝงเป็นนัยไปถึงผู้ที่กระทำสิ่งนั้นให้เกิดขึ้น เช่น

■ คำกริยากลุ่มที่มีเฉพาะรูปสกรรมกริยา

ส่วนใหญ่จะใช้ ~てある เช่น

■ สกรรมกริยาที่มีผลเกิดขึ้นกับประธาน

จะใช้ ~ている เช่น

---------------------

ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางที่รวบรวมมาจากตำราต่างๆเท่านั้น อาจจะไม่ครอบคลุมทั้งหมด และอาจไม่ได้เป็นหลักเกณฑ์ตายตัวที่ต้องใช้เช่นนี้ในทุกกรณี

Webmaster
25 ธันวาคม 2555

pageviews 1,968,003