สาระน่ารู้ เรียนรู้เรื่องญี่ปุ่นกับ J-Campus

วันที่ 6 เดือน 6 อายุ 6 ขวบ : วันแห่งการเรียนศิลปะวิชาการ

โดย Webmaster : อ่าน 43,872 ครั้ง

ธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่สืบทอดมาจากอดีตของชาวญี่ปุ่น คือ การให้เด็กได้เริ่มเรียนศิลปะวิชาการ ตั้งแต่วันที่ 6 เดือน 6 ในปีที่อายุ 6 ขวบ โดยมีความเชื่อว่า จะทำให้เด็กสามารถพัฒนาศิลปะวิชาการนั้นได้เป็นอย่างดี

ธรรมเนียมนี้เล่ากันว่า เกิดจากที่มา 2 ประการ คือ

1. ในยุคสมัยเอโดะ ลูกของชาวบ้านสามัญชน จะได้เข้าเรียนในสถานศึกษา เรียกว่า terakoya (寺子屋) หรือบ้านเด็กวัด โดยจะมีนักรบ แพทย์ และพระในศาสนาพุทธและชินโต เป็นอาจารย์สอนวิธีการเขียนอ่านหนังสือ และการคำนวณโดยใช้ลูกคิด

ซึ่งในอดีต การรับเด็กเข้าเรียนใน terakoya นี้ จะเริ่มในวันมะเมีย เดือนกุมภาพันธ์ (初午 : hatsu uma) ตามปีจันทรคติ

ในสมัยเอะโดะนี้ สิ่งบันเทิงเริงรมย์ที่ถือว่าดีที่สุด คือ ละครคาบุกิ

โดยคำพูดหรือบทกลอนในละครคาบุกินี้ นิยมเล่นคำ โดยการใช้คำที่ซ้ำๆกัน หรือคำที่ออกเสียงพ้องกัน

ดังนั้นรัฐบาลทหารในช่วงปลายสมัยเอะโดะ จึงได้เปลี่ยนวันที่เข้าเรียนใน terakoya จากเดิม มาเป็นวันที่ 6 เดือน 6 เพื่อให้มีเสียงพ้องกัน

2. ข้อสันนิษฐานอีกประการหนึ่งคือ วิธีการนับนิ้วตามแบบฉบับของชาวญี่ปุ่น ที่เรียกว่า yubi ori (指折り) ซึ่งเป็นวิธีการนับ 1-10 ด้วยมือข้างเดียว

เมื่อนับไปถึงเลข 6 มือจะอยู่ในสภาพกำมือ แล้วชูนิ้วก้อยขึ้น 1 นิ้ว

นิ้วก้อย ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ko yubi (小指) หรือแปลตามอักษรคันจิว่า "นิ้วเด็ก"

ส่วนนิ้วหัวแม่มือ ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า oya yubi (親指) หรือแปลตามตัวอักษรคันจิว่า "นิ้วพ่อแม่"

ดังนั้น การกำมือแล้วชูนิ้วก้อยขึ้น 1 นิ้ว จึงเปรียบเสมือนอาการที่เด็กลุกขึ้นยืนเพียงลำพัง และพร้อมที่จะพ้นจากการดูแลของพ่อแม่ เพื่อเข้ารับการศึกษา

ดังนั้น ในวันที่ 6 เดือน 6 ในปีที่เด็กมีอายุ 6 ขวบ จึงถือว่าเป็นวันตามประเพณีนิยมที่จะให้เด็กได้เข้ารับการศึกษาศิลปะและวิชาการต่างๆ

สำหรับเด็กผู้หญิงที่ไม่ได้เข้าเรียนในโรงเรียน terakoya พ่อแม่จะพาไปเข้าเรียนศิลปะแขนงต่างๆ อาทิเช่น การดนตรี การขับร้อง การรำ การจัดดอกไม้ เพื่อให้เด็กผู้หญิงมีศิลปะติดตัว เป็นหลักประกันในอนาคต

ปัจจุบัน วันที่ 6 เดือนมิถุนายน ถือว่าเป็นวันแห่งการศึกษาศิลปะวิชาการ (稽古の日 : keiko no hi)ประกอบด้วย

ในปี 2011 เว็บไซต์ happy-note.com ได้ทำการสำรวจผู้ปกครองที่มีบุตรหลานในวัยประถมศึกษาตอนต้น (6-7 ขวบ) ว่าต้องการให้บุตรหลานได้รับการเรียนรู้ด้านใดเพิ่มเติม

ผลจากการสำรวจ 5 อันดับแรก เป็นดังนี้

แม้ว่าศาสตร์และศิลป์ ที่พ่อแม่ในปัจจุบันอยากให้บุตรหลานได้ร่ำเรียน จะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่ก็ยังคงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักประกันที่ยั่งยืนให้กับบุตรหลานในอนาคต ซึ่งไม่ต่างจากพ่อแม่ในอดีตเมื่อหลายร้อยปีก่อนเช่นเดียวกัน

Webmaster
วันที่ 6 เดือน 6 พศ. 2666 (>_<)

pageviews 1,967,995